Previous Page  41 / 61 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 41 / 61 Next Page
Page Background

จากประเด็นที่ PISA in Focus น�

ำเสนอ ท�

ำให้เห็น

ภาพรวมของนานาประเทศว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่รายงานว่า

พวกเขามีความสุขเมื่ออยู่ในโรงเรียน หรือมีความรู้สึกเป็น

ส่วนหนึ่งของโรงเรียน และผู้เรียนเหล่านี้ยังอยู่ในโรงเรียน

ที่ผู้สอนเห็นความส�

ำคัญของการพัฒนาทางสังคมและอารมณ์

อีกด้วย เมื่อย้อนมาดูที่ประเทศไทย ผลจาก PISA 2012 ใน

ภาพรวม พบว่า ผู้เรียนไทย 93.5 % รายงานว่าพวกเขามี

ความสุขเมื่ออยู่ในโรงเรียน ดังแสดงในกราฟที่ 1 จาก PISA

2003 ถึง PISA 2012 เห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน

และผู้เรียนของไทยพัฒนาไปในระดับที่ดีขึ้น ดังแสดงใน

กราฟที่ 2 การตอบข้อค�

ำถามที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์

ระหว่ างผู้ สอนและผู้ เรียน ท�

ำให้ เห็นว่ า ผู้ เรียนไทย

มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผู้สอนในโรงเรียน ดังแสดงใน

กราฟที่ 4 นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้เรียนไทยถึง 97% อยู่ใน

โรงเรียนที่ผู้สอนเห็นความส�

ำคัญของการพัฒนาทางสังคม

และอารมณ์ของผู้เรียนดังแสดงในกราฟที่ 3 จากข้อมูล

ดังกล่าว ท�

ำให้เห็นว่าผู้เรียนไทยค่อนข้างมีสิ่งแวดล้อม

ทางการเรียนที่ดี โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอน

ในโรงเรียน จึงนับเป็นข้อได้ เปรียบที่สามารถน�

ำไปสู่

การพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการทาง

สังคมและอารมณ์ได้

OECD. (2015). Do teacher-student relations affect students’

well-being at school. PISA inFocus. 50, pp 1-4. (Online).

Available:

http://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/pi

sainfocus/PIF-50-(eng)-FINAL.pdf (Retrieved 26/10/2558).

OECD. (2013b). PISA 2012 Results: What makes School

Successful? Resources, Policies and Practices (Volumn IV),

OECD publications, Paris.

สสวท. (2558).

ปัจจัยที่ท�

ำให้ระบบโรงเรียนประสบความส�

ำเร็จ

ข้อมูลพื้นฐานจากโครงการ PISA 2012.

กรุงเทพ: เปเปอร์ พริ้นท์.

บรรณานุกรม

ขีดเส้นใต้ท้ายเรื่อง

แม้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

จะไม่ใช่สิ่งที่สร้างได้ง่ายนัก แต่สามารถท�

ำได้ หากผู้สอน

ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในการยอมรับ ท�

ำความเข้าใจ และใส่ใจ

กับสิ่งที่ผู้เรียนแต่ละคนเป็น เปิดโอกาสให้นักเรียนพูดคุย

และแสดงความคิดเห็น รวมถึงสื่อสาร สะท้อนความเห็น

และแสดงความคาดหวังต่อผู้เรียนในเชิงบวกและเป็นมิตร

การปฏิบัติเช่นนี้ของผู้สอนจะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้สึก

อบอุ่น ปลอดภัย ไว้ใจ มั่นคงทางจิตใจ เห็นคุณค่าของตนเอง

และอยากอยู่ในเส้นทางการศึกษาต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน

น�

ำไปสู่การพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ของผู้เรียน และช่วย

ส่งเสริมให้พวกเขาเกิดความส�

ำเร็จด้านการศึกษาและ

การด�

ำเนินชีวิตได้

หากท่านผู้อ่านเป็นผู้สอน ลองดูนะคะว่าตอนนี้ความ

สัมพันธ์กับผู้เรียนที่มีอยู่นั้นเป็นอย่างไร และท่านจะท�

อย่างไรต่อไปเพื่อให้ความสัมพันธ์นี้เติบโตและสวยงามได้ใน

รั้วโรงเรียน

กราฟที่ 4

ร้อยละของผู้เรียนไทยที่แสดงความเห็นว่า

เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างมากกับข้อความต่าง ๆ ที่แสดงถึง

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและครูในโรงเรียน

หมายเหตุ

:

ค่าเฉลี่ย OECD ร้อยละของผู้เรียนในการตอบแบบสอบถามข้อนี้ a = 82

b = 77 c = 74 d = 82 และ e = 81

41

ปีที่ 44 ฉบับที่ 197 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558