

นิตยสาร สสวท.
54
ในการส่งจดหมายล่าลายเซ็นของนักวิทยาศาสตร์
ทั่วโลกให้ประท้วงการทดลองระเบิดมหาประลัยนี้ Pauling
ได้ลงทุนออกค่าส่ง 250 ดอลลาร์ การกระท�
ำของ Pauling
ที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงนี้ ท�
ำเองให้กรรมการสภามหาวิทยาลัย
แห่ง Caltech ยื่นใบลาออก 3 คน เหตุการณ์นี้ท�
ำให้
Pauling รู้สึกว่าถึงเวลาที่จะต้องลาออกจากต�
ำแหน่งหัวหน้า
ภาคเคมีแล้วและได้ขอลดเงินเดือนจาก 18,000 เหรียญต่อปี
เป็น 15,000 เหรียญต่อปี
ความยึดมั่นในความเชื่อของ Pauling เริ่มได้ผล
เมื่อประธานาธิบดี Eisenhower แห่งสหรัฐฯ เริ่มการเจรจา
กับรัสเซียเพื่อยุติการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศโลก
และสนธิสัญญาห้ามการทดลองระเบิดปรมาณูได้รับการลง
นามรับรองโดยรัฐบาลอเมริกาและรัสเซียในปี ค.ศ.1963
ผลที่เกิดตามมาส�
ำหรับการกระท�
ำนี้ คือ ในปลายปี
ค.ศ. 1963 Pauling ก็ได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับรางวัล
โนเบลสาขาสันติภาพ เขาจึงเป็นบุคคลเดียวในโลกที่ได้รับ
รางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งโดยปราศจากผู้รับร่วม เป็นที่น่าสังเกตว่า
ผู้บริหารของสถาบัน Caltech ในเวลานั้นไม่มีใครแสดง
ความชื่นชมในเกียรติยศที่ Pauling ได้รับเลย
ในปีค.ศ. 1964 Pauling ได้ขอลาออกจากมหาวิทยาลัย
หลังจากที่ท�
ำงานที่นั่นนาน 41 ปี โดยไม่มีการจัดงานล�่
ำลาใด ๆ
จากมหาวิทยาลัย
ผลงานชิ้นสุดท้ายที่ Pauling ท�
ำเพื่อวงการเคมี
และชีววิทยา คือ การใช้วิตามินซีต่อสู้ความผิดปกติของ
จิตใจ โรคหวัด และมะเร็ง แต่ไม่เป็นผล
เมื่อใกล้จะเสียชีวิตด้วยมะเร็งในวัย 93 ปี Pauling
ก็ยังเชื่อว่า ถ้าเขาไม่ได้กินวิตามิน C มาก ๆ ทุกวัน เขาก็คง
ตายไปก่อนนี้นานแล้ว
เมื่อ Pauling เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1994 ประธานาธิบดี
Bill Clinton ได้เขียนจดหมายอาลัยถึงทายาทของ Pauling
และกล่าวว่าความพยายามอย่างเด็ดเดี่ยวและยิ่งยวดของ
บิดาพวกคุณได้ท�
ำให้ผู้น�
ำนานาชาติต้องทบทวนเรื่องระเบิด
ปรมาณูใหม่ และในที่สุดโลกก็ได้เป็นสถานที่ที่ ๆ ทุกชีวิต
ปลอดภัยขึ้น
มรดกส�
ำคัญที่ Pauling ได้ทิ้งไว้ให้วงการวิทยาศาสตร์
คือ เป็นคนที่ท�
ำให้ทุกคนตระหนักว่าพันธะเคมีคือพื้นฐานของ
ทุกชีวิต
บรรณานุกรม
Pauling, L. and Wilson, E.B. (1985).
Introduction to
QuantumMechanics with Applications to Chemistry.
การได้ รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
ประจ�
ำปี ค.ศ. 1954 ท�
ำให้ Pauling
กล้าแสดงออกโดยให้ความเห็น
ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ได้เตือนภัยจาก
ฝุ่นกัมมันตรังสีที่เกิดจากการ
ทดลองร ะ เ บิดปรมาณูทั้ง ใ น
มหาสมุทรแปซิฟิกและในรัสเซีย
ลุถึงปี ค.ศ. 1951 Pauling ได้หันมาสนใจโปรตีนซึ่ง
เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่นักเคมีในสมัยนั้นคิดว่า ซับซ้อนเกิน
กว่าที่ใครจะวิเคราะห์หาโครงสร้างได้ แต่ Pauling ก็ได้
เสนอความคิดว่า โปรตีน (polypeptide) น่าจะมีโครงสร้าง
แบบ -helix ซึ่งเมื่อได้รับการยืนยันโดยการทดลอง Pauling
ก็ยิ่งมีความมั่นใจในตนเองถึงระดับสุดยอด
อีกหนึ่งปีต่อมา Pauling ได้หันไปสนใจโมเลกุล DNA
และได้เสนอความคิดว่า DNA มีโครงสร้างแบบเกลียว
3 สาย ซึ่งผิด เพราะ James Watson และ Francis Crick
ได้พิสูจน์ในเวลาต่อมาว่า มันมีโครงสร้างเป็นเกลียวคู่
ส�
ำหรับความล้มเหลวของ Pauling ในการเป็นคนแรก
ที่พบโครงสร้างของ DNA นี้ นักประวัติวิทยาศาสตร์มีความ
เห็นว่าเกิดจากหลายสาเหตุ ที่ส�
ำคัญคือ Pauling มีปัญหาส่วน
ตัวมากมาย ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติได้ไม่นาน คือ
Pauling รู้สึกต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์มาก และได้ออก
ปราศรัยในที่ต่าง ๆ ว่าไม่เห็นด้วยกับการแข่งขันระหว่าง
ประเทศมหาอ�
ำนาจในการสร้ างระเบิดปรมาณูและ
ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นก�
ำลังเกิดนั้น J. Edgar Hoover ซึ่งเป็น
ผู้อ�
ำนวยการหน่วยข่าวกรอง (FBI) ของอเมริกาได้มอบให้ FBI
จับตาดูการกระท�
ำทุกอย่างของ Pauling ตลอดเวลาเสมือน
ว่า Pauling เป็นบุคคลอันตราย นอกจากนี้กระทรวงต่าง
ประเทศก็ได้เพิกถอนหนังสือเดินทางของ Pauling แม้แต่
เพื่อน ๆ ของ Pauling ก็ได้เขียนจดหมายถึงอธิการบดี
ของสถาบัน Caltech ให้ไล่ Pauling ออกจากงาน
เมื่อสถาบัน Caltech ที่สังกัดก�
ำลังถูก FBI เพ่งเล็ง
เพราะตนเป็นอาจารย์ประจ�
ำ Pauling จึงตัดสินใจหยุด
ปราศรัยโจมตีรัฐบาล แต่รัฐบาลอเมริกันก็ยังไม่คืนหนังสือเดินทาง
ให้ และไม่ให้ทุนวิจัยใด ๆ ด้วย ในที่สุด Pauling ก็ได้หวนกลับ
สู่วงการเมืองอีก และกล่าวว่า วิทยาศาสตร์จะไม่รุ่ง
ถ้านักวิทยาศาสตร์ถูกลงโทษ เพราะพูดในสิ่งที่ตนเชื่อ