

59
ปีที่ 44 ฉบับที่ 199 มีนาคม-เมษายน 2559
อาหารกับโฆษณาชวนให้เชื่อ แนวคิดเรื่องอาหารเช้า
ถูกน�
ำมาใช้ โดยนายแพทย์ John Ha r l ey Ke l l ogg
เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ธัญพืชอาหารเช้าของเขา
เขาใช้ หลายวิธีการในการท�
ำให้ ผู้ คนเชื่อและเปลี่ยน
พฤติกรรมการท�
ำและกินอาหารเช้า ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์ หรือสื่อโฆษณาเท่าที่มีในยุคนั้น จนใน
ที่สุด ผู้คนก็หันมาซื้อสินค้าของเขาบนความเชื่อในเรื่องของ
การส่งเสริมสุขภาพและความสะดวกรวดเร็วในการจัดการ
เกี่ยวกับอาหารเช้า
อีกกรณีที่ต่ายคิดว่า น่าสนใจทีเดียว เกี่ยวกับ
การใช้ข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาโน้มน้าวให้คน
เปลี่ยนพฤติกรรม อย่างกรณีของ "เบคอน" ที่สมาพันธ์
อุตสาหกรรมการค้าหมูแห่งอเมริกาในอดีต อยากจะกระตุ้น
ยอดขาย "เบคอน" เลยให้นาย Edward Bernays มาช่วยคิด
หาวิธีการกระตุ้นยอดขาย ซึ่งต่ายขอเรียกว่า เขาเป็นนักจิตวิทยา
การโฆษณาชั้นเซียนละกัน เขาใช้ค�
ำถามเพียงค�
ำถามเดียว
โดยถามหมอว่า "อาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพเนี่ยมันจ�
ำเป็น
ใช่ไหม?" และหมอส่วนใหญ่ก็มักจะตอบว่า ใช่ หรือ น่าจะใช่
จากนั้น นาย Edward Bernays ก็ใช้ข้อมูลนี้ประกอบกับ
สื่อโฆษณาของเขาเพื่อกระตุ้นยอดขายเบคอน ส่งผลท�
ำให้เกิด
กระแส กินเบคอนและไข่ดาวเป็นอาหารเช้า ฮิตติดลมบนกัน
มาจนถึงทุกวันนี้เลยทีเดียว
ภาพที่ 1
ระดับฮอร์โมน Ghrelin ของกลุ่มที่กินอาหารเช้าและกลุ่มที่ไม่กิน
อาหารเช้า (ที่มา NewScientist Magazine, March 26 - April 1, 2016, หน้า 39)
ภาพที่ 2
พลังงานที่ได้รับตลอดทั้งวันของกลุ่มที่กินอาหารเช้าและกลุ่มที่ไม่
กินอาหารเช้า (ที่มา NewScientist Magazine, March 26 - April 1, 2016,
หน้า 40)
วิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
แนวคิดเรื่องอาหารเช้า กับการอดอาหาร หรือยืดระยะเวลา
การอดอาหารเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ (การท�
ำ Fasting) ท�
ำให้
เกิดค�
ำถามเพื่อสร้างโจทย์การวิจัยอีกครั้งว่า ตกลง อาหารเช้า
มันดีต่ อสุขภาพตามที่เชื่อกันอยู่ ในตอนนี้ใช่ หรือไม่
งานวิจัยล่าสุดพบว่า เมื่อท�
ำการศึกษาเปรียบเทียบระดับ
ฮอร์โมนความหิว (Ghrelin) ของคนสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่
และจากการศึกษาวิจัยยังพบว่า กลุ่มคนที่กิน
อาหารเช้าจะกินอาหารตลอดทั้งวันในปริมาณที่มากกว่า
กลุ่มที่ไม่กินอาหารเช้า โดยเฉพาะอาหารกลุ่มแป้งและน�้
ำตาล
ท�
ำให้ได้พลังงานมากกว่ากลุ่มที่ไม่กินอาหารเช้า
กินอาหารเช้า และกลุ่มที่ไม่กินอาหารเช้า พบว่า เมื่อถึง
เวลาอาหารกลางวันระดับฮอร์ โมนของคนทั้งสองกลุ่ม
ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยส�
ำคัญเลย แต่ถ้าคุณดูจากกราฟ
ในภาพประกอบที่ 1 คุณๆ จะเห็นว่า กลุ่มที่อดอาหารเช้า
ระดับฮอร์โมนจะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้น นั่นหมายความว่า
เขาอาจจะรู้ สึกหิวตะหงิดๆ ส่ วนกลุ่มที่กินอาหารเช้ า
ระดับฮอร์โมนจะลดลงหลังจากได้รับอาหารเช้าแล้วจากนั้น
ก็จะพุ่งพรวดขึ้นมาด้วยระดับความชันที่มากกว่า นั่นแสดงว่า
เขาอาจจะรู้สึกหิวหรือคิดว่าต้องกิน