Table of Contents Table of Contents
Previous Page  58 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 58 / 62 Next Page
Page Background

58

นิตยสาร สสวท

สวัสดีคุณๆผู้อ่านที่รัก ในที่สุดคนไทย

ก็สามารถผ่านวิกฤติฤดูร้อนสุดโต่งมาได้และต่อไป

เราคงต้องอดทน ฟันฝ่า และเตรียมพร้อมที่จะอยู่

กับฤดูฝนอันแปรปรวนและปั่นป่วนมากขึ้นกว่าเดิม

จากความรู้ที่เราเคยเรียนกันมาในสมัยเด็กๆ

อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น เนื่องจากมวล

อากาศร้อนมีอุณหภูมิสูง โมเลกุลของแก๊สต่างๆ

จะวิ่งชนกันไปมากระจัดกระจาย ห่างกัน ท�ำให้

ในมวลอากาศร้อนมีความหนาแน่นต�่ำกว่า

มวลอากาศเย็น และยิ่งถ้ามวลอากาศร้อนและ

มวลอากาศเย็นมีอุณหภูมิต่างกันมาก ก็จะยิ่ง

ท�ำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าอากาศแปรปรวนได้

มากขึ้น

สิ่งต่างๆ ที่คุณเคยเรียนในวัยเยาว์

หากสิ่งนั้นไม่ประสบพบเจอกับตัวเอง เราก็มักจะ

มองข้าม และละเลยที่จะใส่ใจกับมัน ณ เวลานี้

ต่ายเชื่อว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยเรียน ได้มา

ปรากฏให้ได้เห็นแล้วในชีวิตประจ�ำวัน

QUIZ

จากฉบับที่ 198 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ต่ายได้เล่าให้คุณ ๆ

ฟังเกี่ยวกับความส�ำคัญของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร มาครั้งนี้

ต่ายก็ยังมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และ

การเกิดใหม่ของเซลล์สมอง จากงานวิจัยเรื่อง Ly6C (hi) Monocytes

Provide a Link between Antibiotic-Induced Changes in Gut Microbiota

and Adult Hippocampal Neurogenesis. โดย Möhle, L., Mattei, D.,

Heimesaat, M. M., Bereswill, S., Fischer, A., Alutis, M., French,

T., Hambardzumyan, D., Matzinger, D., Dunay, IR. & Wolf,

S. A. ตีพิมพ์ใน

Cell reports

. 2016, 15 (9), 1945-56. ส�ำหรับต่าย มันเป็น

เรื่องมหัศจรรย์ของความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิต

ต่ายไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า เจ้าจุลินทรีย์มากมายหลากหลายสายพันธุ์

ในทางเดินอาหาร จะไปมีบทบาทส�ำคัญเกี่ยวกับสมองได้ เพราะจากการ

รับรู้เบื้องต้นในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่ายก็จะคิด

และเชื่อง่ายๆ ตามที่เรียนมา ไม่กล้าคิดไปนอกเรื่อง กลัวครูดุ อิอิ

และกล่าวหาว่าไม่ตั้งใจเรียน

งานวิจัยนี้พบอะไรบ้าง ต่ายอยากให้คุณได้อ่านและน�ำไป

ปรับใช้ ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร เพื่อสร้างความหลากหลาย

ของชนิดจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะท�ำได้

งานวิจัยนี้ได้ ตั้งสมมุติฐานเอาไว้ ว่ า

ถ้าใช้ยาปฏิชีวนะท�ำลายแบคทีเรียใน

ล�ำไส้หนูทดลองจนหมดสิ้น จะเกิดผล

อะไรกับการสร้างเซลล์ประสาทในสมอง

หรือไม่ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญมากเกี่ยวกับความจ�ำ

ว่าแล้วทีมวิจัยก็วางแผนการทดลอง โดย

ให้หนูทดลองกินยาปฏิชีวนะหลายๆ ชนิด

เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ซึ่งวิธีการนี้อันตรายเกินกว่าจะทดลองในมนุษย์ได้

ดังนั้นห้ามทดลองเองโดยเด็ดขาด เมื่อให้ยาหนูทดลองครบก�ำหนด

ทีมวิจัยก็ท�ำการศึกษาสมองส่ วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus)

ซึ่งท�ำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจ�ำ (ส�ำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ สมอง

ส่วนนี้จะเป็นส่วนแรกที่ได้รับความเสียหายก่อน)

ที่มา:

http://www.yuzuhealthy.com/15106218/ ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร