Table of Contents Table of Contents
Previous Page  59 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 59 / 62 Next Page
Page Background

59

ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559

ไม่มีอะไรยากไปกว่า

การเอาชนะใจตนเองเพื่อก้าวผ่าน

การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ต่าย แสนซน

ทีมวิจัยพบว่า หนูทดลองที่ได้รับยาปฏิชีวนะ

จ�ำนวนเซลล์สมองที่สร้างขึ้นมาใหม่ลดลงไปถึง 40 % เมื่อเทียบ

กับหนูทดลองในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ และเมื่อทดสอบ

เกี่ยวกับความจ�ำของหนูทดลอง ก็พบว่าหนูที่ได้รับยาปฏิชีวนะ

มีความจ�ำลดลงเมื่อเทียบกับหนูทดลองในกลุ่มที่ไม่ได้รับ

ยาปฏิชีวนะ

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่าหากหนูทดลอง

ที่ได้รับยาปฏิชีวนะ ได้รับ probiotics และออกก�ำลังกายด้วย

การเจริญของเซลล์ประสาทจะกลับมาใกล้เคียงระดับปกติได้

ทีมวิจัยให้ค�ำอธิบายไว้ว่า จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

จะมีผลต่อการสร้างเซลล์ประสาทโดยการท�ำงานผ่านระบบ

ภูมิคุ้มกันของร่างกายทีมวิจัยพบว่า ระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ชนิดหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการสร้าง

เซลล์ประสาท ส�ำหรับกลไกการท�ำงานโดยละเอียดนั้น

ทางทีมวิจัยคงต้องท�ำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ภาพ:

แสดงความสัมพันธ์ของการได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อท�ำลาย

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารกับการสร้างเซลล์ประสาท

ซึ่งมีการท�ำงานผ่านระบบภูมิคุ้มกัน (เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์)

[อ้างอิง - Möhle et al. (2016)]

เฉลยค�ำถาม

ฉบับที่ 198

ค�ำถาม

ฉบับที่ 200

ต่ายถามไว้ว่า ตัวคุณเองจะมีส่วนในการช่วยท�ำให้

จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของคุณท�ำงานได้ง่ายขึ้นได้อย่างไรบ้าง

ค�ำตอบก็คือ คุณต้องเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย

มีเส้นใยอาหารสูง เคี้ยวอาหารให้ละเอียดเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว

ในการย่อยให้กับจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร หลีกเลี่ยงอาหาร

ที่มีรสจัด มีผู้ตอบถูกเพียง 1 ท่าน ก็คือ

คุณปาริฉัตร กิมสือ

บ้านเลขที่209/1ม.3 ต.เกาะขนุนอ.พนมสารคามจ.ฉะเชิงเทรา

24120 และที่อยู่ส�ำหรับจัดส่งสื่อการเรียนการสอนให้โรงเรียนก็

คือ

โรงเรียนวัดนาน้อย

126หมู่ที่6ต.เกาะขนุนอ.พนมสารคาม

จ. ฉะเชิงเทรา 24120 ขอให้รอรับรางวัลจากทางทีมงานได้เลยจ้า

เมื่อคุณได้ ค�ำตอบแล้ ว ส่ งมาหาต่ ายได้ ที่

funny_rabbit@live.co.uk

ภายในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

โดยต้องใส่ที่อยู่ที่จะให้จัดส่งของรางวัลของคุณมาให้เรียบร้อย

และอีกเช่นเคย ถ้าอยากให้ต่าย ท�ำการส่งสื่อเล็กๆ น้อยๆ จาก

สสวท. ไปให้โรงเรียน (นอกเหนือจากของรางวัลที่จะได้รับ)

ต่ายรบกวน ช่วยเขียนชื่อโรงเรียนที่จะให้ต่ายส่งของไปให้

มาด้วย เพื่อที่โรงเรียนจะได้น�ำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

ส�ำหรับเฉลยอ่านได้ในฉบับที่ 202 นะจ๊ะ

จากเรื่องที่ต่ายเล่ามา คุณคิดว่านักวิทยาศาสตร์

เขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ยาปฏิชีวนะที่ให้หนูทดลองกินนั้น

มีผลไปท�ำลายจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้จริงๆ เขามี

วิธีการตรวจสอบหรือรู้ได้อย่างไร ต่ายอยากให้คุณลอง

หาข้อมูลดู หรือจะเดาก็สุดแล้วแต่วิธีการของคุณละกัน

ถ้าคุณๆ อ่านมาถึงตอนนี้ ต่ายเชื่อว่า น่าจะอึ้ง ทึ่ง

และประหลาดใจบ้างไม่มากก็น้อย แล้วแต่พื้นความรู้ของ

แต่ละคน และน่าจะเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการเลือก

รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับการสร้างความหลากหลาย

ของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร เพราะจุลินทรีย์เหล่า

นี้ไม่ได้แค่ช่วยให้คุณกินง่าย ถ่ายคล่องเท่านั้น ยังมีผลต่อ

ระบบภูมิคุ้มกันและความจ�ำอีกด้วย นี่คือตัวอย่างอีกหนึ่ง

ตัวอย่างของความหลากหลายทางชีวภาพในตัวคุณ ที่สามารถ

สร้างได้ด้วยมือของคุณเอง ควรจะตระหนักคิดสักนิดก่อน

ที่จะเลือกหยิบอะไรใส่ปากเพื่อรับประทาน