

52
นิตยสาร สสวท
ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และสติปัญญาที่เยี่ยมยอด
ท�ำให้ Rosalyn สามารถเรียนได้เกรด A ทุกวิชา เมื่ออายุ 22 ปี
เธอได้เข้าพิธีสมรสกับ Aaron Yalow ซึ่งเป็นเพื่อนนิสิต
ปริญญาเอกที่ก�ำลังเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในการท�ำ
วิทยานิพนธ์เธอมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ Maurice Goldhaber
(ผู้พบการสลายตัวของนิวเคลียสโดยรังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมมา
พลังงานสูง และยังเป็นผู้พบการสลายตัวของนิวเคลียส
ธาตุ lithium, boron กับ nitrogen โดยอนุภาคนิวตรอนด้วย)
ในปี ค.ศ. 1945 Rosalyn วัย 24 ปี ส�ำเร็จการศึกษาฟิสิกส์ระดับ
ปริญญาเอกโดยมีความเชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสี จากนั้นได้
ไปฝึกงานที่ห้องปฏิบัติการ Federal Telecommunications
Laboratory ในต�ำแหน่งผู้ช่วยวิศวกร เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี
เธอก็พบว่า งานที่เธอท�ำ เป็นงานที่ไม่สร้างสรรค์เลย คือ
ค่อนข้างจ�ำเจ จึงขอลาออกไปสมัครเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์
ที่ Hunter College ที่เธอเคยเรียน ส่วนสามีได้งานท�ำ
ที่โรงพยาบาล Montefiore ซึ่งตั้งอยู่ที่ Bronx ใน New York
วันหนึ่งเพื่อนคนหนึ่งของสามีได้แวะมาเยี่ยม
การสนทนากับเธอท�ำให้เขารู้สึกประทับใจในความสามารถ
ทางวิชาการของเธอมาก จึงพูดจูงใจให้ Rosalyn ไปท�ำงาน
เป็นนักวิจัยด้านรังสีบ�ำบัดที่โรงพยาบาล Bronx Veterans
Administration (VA Hospital) ในปี ค.ศ.1947 และท�ำงานวิจัย
เรื่องการพัฒนาเทคนิคการใช้สารกัมมันตรังสีเพื่อประโยชน์
ทางการแพทย์ ค�ำเชื้อเชิญนี้ท�ำให้ Rosalyn ตอบตกลง
เพราะ Rosalyn แทบไม่มีความรู้ด้านแพทย์ศาสตร์
เลย เธอจึงต้องหาผู้ร่วมงานเป็นแพทย์ที่ชอบวิจัย หลังจากที่ได้
สนทนากับ Solomon Berson ผู้ไม่มีความรู้ฟิสิกส์มากเช่นกัน
ทั้งสองได้ตกลงใจท�ำงานร่วมกันในการพัฒนาเทคนิคการใช้
antibody ที่มีอะตอมกัมมันตรังสีมาเกาะติดเพื่อวัดปริมาณ
antigen ในร่างกายคน นั่นคือทั้งสองต้องการใช้วิธีวิเคราะห์คน
ที่เป็นโรคต่อม thyroid อักเสบ ด้วยการฉีดอะตอมกัมมันตรังสี
เข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วย แล้วติดตามเส้นทางการเคลื่อนที่
และการสลายตัวของอะตอมกัมมันตรังสีนั้น
ในเวลาต่อมา I. Arthur Missky ได้แนะน�ำให้
Rosalyn และ Berson ใช้เทคนิคกัมมันตรังสีวิเคราะห์คนที่
เป็นโรคเบาหวานว่าเกิดจากการสลายตัวอย่างรวดเร็วเกินไป
ของฮอร์โมน insulin โดย enzyme ชนิด insulinase ว่าเป็น
ไปได้หรือไม่
ณ เวลานั้นวงการแพทย์มี insulin ที่บริสุทธิ์ 100%
ใช้แล้ว Rosalyn กับ Berson จึงทดลองฉีด insulin ที่สกัดได้
จากสัตว์ และมีอะตอมกัมมันตรังสีเกาะติดอยู่เข้าในร่างกาย
คนไข้ และได้พบว่า insulin จะสลายตัวอย่างช้าๆ ทั้งสองจึง
คิดว่าคงเกิดจากการที่ร่างกายสร้าง antibody ซึ่งจะไปยึดติด
กับ insulin เพราะ antibody เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ จึงเป็น
เรื่องยากที่ร่างกายจะก�ำจัดมันออกไป
Rosalyn และ Berson ได้ส่งผลงานไปลงพิมพ์
เผยแพร่ในวารสาร The Journal of Clinical Investigation
แต่ถูกกองบรรณาธิการวารสารปฏิเสธ โดยอ้างว่าเป็นงาน
ที่ไม่ส�ำคัญ เพราะไม่ได้ให้องค์ความรู้ใหม่เลย (Rosalyn ได้น�ำ
ผลงานที่ถูกปฏิเสธนี้ไปบรรยายในพิธีเลี้ยงฉลองรางวัลโนเบล
ของเธอ)
เมื่อถูกปฏิเสธ เธอกับ Berson ได้น�ำงานชิ้นนั้น
ไปเผยแพร่ในวารสารอื่น และทุ่มเทท�ำงานต่อไป โดยฉีด
ปริมาณ insulin ที่ไม่มีอะตอมกัมมันตรังสี เข้าไปในเลือด
ทีละน้อยๆ และพบว่า ปริมาณ insulin ที่มีอะตอมกัมมันตรังสี
เริ่มแยกตัวออกห่างจาก antibody การวัดปริมาณ insulin ที่มี
อะตอมกัมมันตรังสีท�ำให้รู้ปริมาณ insulin ที่ไม่มีกัมมันตรังสี
ในร่างกายไปพร้อมกัน
RIA จึงเป็นเทคนิคส�ำคัญที่ท�ำให้แพทย์รู้ปริมาณ
insulin ที่มีในร่างกายคน
จากนั้น Rosalyn กับ Berson ก็ได้พัฒนาเทคนิคนี้
ต่อไปเพื่อวัดปริมาณฮอร์โมนอื่นๆ เช่น human growth,
adrenocorticotropic, parathyroid และ gastrin
Solomon Berson และ Rosalyn S. Yalow
ที่มา:
https://www.washingtonpost.com/local/obituaries/ nobel-winner-rosalyn-yalow-dies-at-89/2011/06/02/
AGwgMdHH_story.html