

4
นิตยสาร สสวท
กว่าจะมาเป็นนักบิน
ผมเป็นนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มี
ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโลยี (พสวท.)
ที่ศูนย์โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) รุ่น2 ขณะอยู่ชั้นม.4
จากนั้นได้เข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาธรณีวิทยา และเรียนต่อ
ปริญญาโทอีก 1 ปี มีเพื่อนมาชวนไปสอบชิงทุนนักบิน
ผมจึงไปลองสอบดูด้วยความอยากรู้ว่าการเป็นนักบินนั้น
ท�ำอะไรกันบ้าง
เมื่อได้รับทุนนักบินฝึกหัดจากบริษัทการบินไทย
ก็ได้ไปศึกษาและฝึกฝนเกี่ยวกับเทคนิคการบินประมาณ 1 ปี
ผมคิดว่าการเรียนธรณีวิทยาเป็นประโยชน์มากในการศึกษา
ด้านการบินเพราะระบบแผนที่ระบบน�ำทาง และการอ่านค่าต่างๆ
ทางภูมิศาสตร์ เป็นระบบเดียวกัน รวมถึงเรื่องเครื่องวัด
ประกอบการบินต่างๆ ด้วย เช่น จอแสดงภาพการบินของ
เครื่องบิน ก็ใช้ระบบเรียกชื่อแบบเดียวกันกับการวางตัวของ
ชั้นหิน เครื่องบอกทิศทาง และเรื่องทิศทางต่างๆ ในแผนที่
ก็เป็นแบบเดียวกันกับทางธรณีวิทยา คือ สร้างขึ้นมาด้วย
พื้นฐานการท�ำแผนที่แบบเดียวกัน และใช้ระบบพิกัดทาง
ภูมิศาสตร์ WGD-84 (World Geodic System 1984) เหมือนกัน
แต่แผนที่การบินนั้นละเอียดน้อยกว่าในแง่ของการใช้งาน
การที่เราเข้าใจระบบของแผนที่และการน�ำทางจึงท�ำให้ได้
เปรียบคนอื่นบ้างเวลาศึกษาเรื่องการบิน
พื้นฐานความรู้ที่ได้จากการเป็นนักเรียนทุนโครงการ
พสวท. ท�ำให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจการบินได้ง่ายขึ้น
เพราะเรามีหลักการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การตั้ง
สมมติฐานเพื่อค้นหาค�ำตอบ การสังเกต รวมถึงการค้นหา
ค�ำตอบด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อหาค�ำตอบให้ได้ สิ่งเหล่านี้
เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าวิจัยที่สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้
ในการพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เสมอ
การบินเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ที่คนส่ วนใหญ่
มักไม่มีโอกาสได้รับรู้ เมื่อเรามีความเข้าใจในสิ่งนี้ เราก็สามารถ
อธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ การบินเป็นเรื่องของการเข้าใจ
หลักการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เข้าใจความรู้ทางเทคโนโลยี
มีหลักการและเหตุผล เป็นการเรียนรู้ เรื่องกฎระเบียบ
มีกฎหมาย และมีตรรกะของการใช้เหตุผลรวมถึงการแก้ปัญหา
ที่เรียกว่า Logical Reasoning ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของ
การน�ำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น
ที่มาและแรงบันดาลใจในการเข้าร่วมเป็น
ทูตสะเต็ม
ถ้าเราเข้าใจเราจะถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นเข้าใจ
ได้ง่าย สามารถสรุปเรื่องยากให้คนที่ไม่เคยรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น
เข้าใจได้ ผมจึงอยากเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสสิ่งที่
อาจจะคิดว่าอยู่ไกลตัว อันที่จริงเป็นเรื่องที่เราเข้าใจได้
ถ้าเรามีความรู้พื้นฐานดี ผมไม่ได้มาเป็นทูตสะเต็ม เพื่อสร้าง
แรงบันดาลใจให้ทุกคนอยากเป็นนักบิน แต่ต้องการให้ทุกคน
เข้าใจว่า เรื่องการบินเป็นเรื่องที่เราสามารถเข้าถึงและเข้าใจ
ได้ไม่ยาก เมื่อทุกคนเข้าใจแล้ว เวลาเราเดินทางโดยเครื่องบิน
เราก็จะเดินทางด้ วยความเชื่อมั่น และด้ วยความสุข
ถ้าขณะเดินทางเราต้องเผชิญสภาวะการณ์ต่างๆ ที่ไม่เคย
ประสบจะได้ไม่ตื่นตระหนก หรือตื่นกลัวจนเกินความจ�ำเป็น
ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับการบินมากกว่าที่อยากให้
เป็นนักบิน
ระยะเวลาในการเข้าร่วมเป็นทูตสะเต็ม
ผมมีความรู้สึกว่า จะให้ผมเป็นนานเท่าไหร่ก็ได้
ส่วนหนึ่งผมคิดว่าผมยังเป็นหนี้บุญคุณโครงการ พสวท. อยู่
แม้ผมจะลาออกจากการเป็นนักเรียนทุน พสวท. มายี่สิบกว่า
ปีแล้วและได้ชดใช้ทุนคืนรัฐบาลหมดแล้ว ผมจึงอยากตอบแทน
ด้ วยการท�ำคุณประโยชน์ ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของสะเต็ม ก็รู้ สึกภาคภูมิใจ
โดยความรู้ สึกรับผิดชอบต่ อสังคมนั้นได้ เกิดขึ้นตั้งแต่
ตอนที่ผมยังเป็นนักเรียนทุน พสวท. ครับ
อาชีพนักบินเกี่ยวข้องกับสะเต็มอย่างไร
เกี่ยวข้องหมดทุกด้านครับ ขึ้นกับว่านักบินใช้
พื้นฐานของสะ เต็ม ในการท� ำงานมากน้ อยแค่ ไหน
นักบินส่วนใหญ่ ใช้สะเต็มทุกแขนง เช่น ด้านวิทยาศาสตร์
คือการเข้าใจหลักการพื้นฐาน ด้านการกระท�ำของแรง
อากาศพลศาสตร์ เวกเตอร์ ของแรง ด้านคณิตศาสตร์
ก็จะเกี่ยวข้องกับการค�ำนวณ การอ่านค่า การใช้สถิติ
ด้านวิศวกรรมศาสตร์คือ การเข้าใจกลไกการท�ำงานของ
ระบบ การพัฒนาเครื่องยนต์ ด้านเทคโนโลยี เช่น การพัฒนา
เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการ
น�ำร่องด้วยระบบดาวเทียม และการสื่อสารต่างๆ