

9
ปีที่ 44 ฉบับที่ 201 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559
รูปที่ 9
ภาพวาดแสดงส่วนประกอบของ Daniell cell
รูปที่ 8
Daniell cell
ที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/Daniell_cellในปี ค.ศ. 1836 แดเนียล (John F. Daniell) นักเคมีชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเซลล์ไฟฟ้าเคมีเป็นการต่อยอด Voltage pile
เซลล์ดังกล่าวจึงมีชื่อว่า Daniell cell ซึ่งประกอบด้วยหม้อที่ท�ำด้วยทองแดงบรรจุสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต ในหม้อมีภาชนะ
ที่ท�ำด้วยกระเบื้อง ในภาชนะมีกรดซัลฟูริกและแผ่นสังกะสีจุ่มอยู่ ดังแสดงในรูปที่ 9
เซลล์ไฟฟ้าของแดเนียล ให้กระแสไฟฟ้าที่เสถียรกว่าและนานกว่าเซลล์ของวอลตา จึงกลายเป็นแบตเตอรี่มาตรฐาน
ของวงการอุตสาหกรรมในสมัยนั้น และเป็นเซลล์ไฟฟ้าเซลล์แรกที่สามารถน�ำไปใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้จริง โดยเฉพาะ
ในการน�ำไปใช้กับเครื่องโทรเลข
อย่างไรก็ตาม เซลล์ไฟฟ้าเคมีในแบตเตอรี่ที่ใช้อิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลาย
มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของกระแสไฟสู่ภายนอก อีกทั้งภาชนะที่ใช้บรรจุ
เซลล์ ไฟฟ้าเคมีแบบมีอิเล็กโทรไลต์มักท�ำด้ วยแก้ ว จึงท�ำให้ เสี่ยงต่อการแตก
เสียหาย เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ได้รับการพัฒนา ในช่วงแรกนี้ จึงไม่เหมาะสมกับการน�ำมาใช้
ในอุปกรณ์พกพาต่างๆ
จนกระทั่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จึงได้มีการประดิษฐ์เซลล์ไฟฟ้าเคมี
แบบที่ใช้อิเล็กโทรไลต์เป็นสารที่มีลักษณะเป็นแป้งเปียก (paste) ส่งผลให้มีการน�ำ
เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบบนี้ไปใช้กับอุปกรณ์พกพาได้เป็นอย่างดี
ในตอนที่ 2 จะกล่าวถึง ชนิดของแบตเตอรี่ และ ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่
ชนิดต่างๆ ที่ทุกคนคุ้นเคย รวมทั้งแนวทางการใช้แบตเตอรี่อย่างมีประสิทธิภาพ
และปลอดภัย
บรรณานุกรม
Buchman, I. Battery University. Retrieved June 2, 2016, from
http://batteryuniversity.com/.Rechargeable Battery Recycling Corporation & National Geographic Society. Battery Lesson Plan.
Retrieved June 2, 2016, from
http://www.panasonic.com/environmental/rbrc_lesson_plan.pdf.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556).
หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม เคมี เล่ม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6
.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้า สกสค.
อดิสร เตือนตรานนท์. (2557). อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง.
กรุงเทพธุรกิจ (เทคโนโลยีปริทรรศน์),
หน้า 9.
