

12
นิตยสาร สสวท
รูปที่ 5
เกาะ Pingelapประเทศไมโครนีเซีย
ที่มา
:
http://www.bbc.com/news/magazine-34346428รูปที่ 4
ประชากรแมวน�้ำช้างประมาณ 171,000 ตัวในปี ค.ศ. 2005
ที่มา
:
https://en.wikipedia.org/wiki/Northern_elephant_sealดังนั้นมันจึงได้รับการอนุรักษ์โดยรัฐบาลของเม็กซิโก
และสหรัฐอเมริการ่วมกัน ส่งผลให้ประชากรแมวน�้ำช้าง
เพิ่มจนมีจ�ำนวนกว่า100,000 ตัวในปี ค.ศ. 2005 และจาก
จ�ำนวนที่เพิ่มนี้ได้ส่งผลให้แมวน�้ำช้างถูกจัดสถานภาพของ
ชนิดพันธุ์อยู่ในกลุ่มที่น่ากังวลน้อยที่สุด (LC: Least Concern
ซึ่งหมายถึงว่า ชนิดพันธุ์ที่ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มใกล้
สูญพันธุ์เต็มที่ กลุ่มใกล้สูญพันธุ์ กลุ่มที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
หรือกลุ่มใกล้ถูกคุกคาม) แต่นักวิจัยกลับพบว่าประชากร
ที่เพิ่มขึ้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างต�่ำมาก
เมื่อเทียบกับประชากรแมวน�้ำช้างซีกโลกใต้ (
M. leonina
)
นี่เป็นผลของการที่แมวน�้ำช้างซีกโลกเหนือมีประชากร
เริ่มต้นที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากการล่าของมนุษย์ จึงมีความ
หลากหลายของแอลลีลเริ่มต้นที่ต�่ำ ส่งผลให้ความหลากหลาย
ทางพันธุกรรมของประชากรในรุ่นต่อๆ มาต�่ำตามไปด้วย
(ในขณะที่แมวน�้ำช้างซีกโลกใต้ซึ่งเคยผ่านการถูกล่ามาแล้ว
เช่นกันแต่ไม่ได้มีจ�ำนวนลดลง จนเป็นปรากฏการณ์คอขวด
จึงมีความหลากหลายของแอลลีลเริ่มต้นที่สูงกว่า) และ
จากความหลากหลายที่น้อยนี้เองแมวน�้ำช้างซีกโลกเหนือ
จึงถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจสูญพันธุ์ได้
ประชากรมนุษย์บนเกาะ Pingelap ในประเทศไมโครนีเซีย
ถ้าเกิดโรคระบาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
เนื่องจากมันอาจไม่มีปัจจัยที่สามารถช่วยให้สามารถด�ำรง
ชีวิตต่อไปได้ ในขณะที่แมวน�้ำช้างซีกโลกใต้อาจมีลักษณะ
ดังกล่าวในกลุ่มประชากรเนื่องจากมีความหลากหลายทาง
พันธุกรรมที่มากกว่า ซึ่งแมวน�้ำช้างซีกโลกเหนืออาจถือเป็น
ตัวอย่างของผลที่เกิดจากปรากฏการณ์คอขวดที่ท�ำให้ความถี่
แอลลีลของประชากรเปลี่ยนแปลงไป จนมีความหลากหลาย
ทางพันธุกรรมลดลง แม้ว่าจ�ำนวนประชากรจะเพิ่มในเวลา
ต่อมาก็ตาม
ประชากรมนุษย์บนเกาะ Pingelap ในประเทศ
ไมโครนีเซีย เคยประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นชื่อ Liengkieki ใน
ปี ค.ศ. 1775 โดยพายุดังกล่าวได้สังหารประชากรไปเกือบ
หมดบนเกาะ และผู้คนที่เหลือรอดชีวิตได้อดอยากล้มตาย
ไปอีกจ�ำนวนหนึ่ง เหลือประชากรที่รอดชีวิตเพียงไม่กี่คน
(บางแหล่งข้อมูลกล่าวถึงการเหลือรอดเพียง 20 คนเท่านั้น)
โดยหนึ่งในผู้รอดชีวิตนั้นคือ Nahnmwarki Mwanenised ซึ่ง
เป็นผู้มีแอลลีลที่ก่อโรค achromatopsia หรือโรค total color
blindness ซึ่งเป็นแอลลีลด้อยที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย
และโรคที่เกิดเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
โดยผู้ป่วยจะมีอาการตาบอดทุกสี หรือมองเห็นทุกสีเป็นสี
ขาวกับด�ำ ในเวลาต่อมาได้มีการพบว่าประชากรบนเกาะ
Pingelap เป็นพาหะของโรค achromatopsia ถึงร้อยละ 30 ด้วย
และผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวมีประมาณร้อยละ 10 ของ
ประชากรบนเกาะ ซึ่งนับว่ามากกว่ากลุ่มประชากรอื่นๆ เช่น
ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 1 ใน
33,000 คนเท่านั้นเอง (ต�่ำกว่าร้อยละ 0.01) เหตุการณ์นี้
เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของผลกระทบจากปรากฏการณ์คอขวด
ซึ่งท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลแบบสุ่มร่วมกับ
การลดขนาดของประชากรลงอย่างรวดเร็ว (โดยอาจมีการ
แต่งงานกันในบรรดาเครือญาติ (in breeding) ในรุ่นต้นๆ
ของการเพิ่มจ�ำนวนประชากรด้วย) จึงท�ำให้ความถี่ของแอลลีล
ที่ก่อโรค achromatopsia ในกลุ่มประชากรมีค่าสูงขึ้น ส่งผลให้
ประชากรบนเกาะมีสัดส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวสูงกว่า
ที่พบในกลุ่มประชากรอื่น