

18
นิตยสาร สสวท
4. ทดสอบการลอยตัวในอากาศของลูกยางแต่ละแบบ ครูและเด็กร่วมกันก�ำหนดเกณฑ์การทดสอบการปล่อยลูกยาง
ว่าจะปล่อยอย่างไร (ครูสามารถช่วยแนะน�ำเด็กเพื่อร่วมกันก�ำหนดจุดปล่อยลูกยางได้ เช่น ให้มีความสูงในระดับคงที่
2 เมตรหรือระยะสุดแขนของเพื่อนที่สูงที่สุดในห้อง) แล้วให้เด็กๆ ปล่อยลูกยางลงมา ครูจับเวลาที่ลูกยางลอยอยู่ในอากาศ
โดยใช้นาฬิกาจับเวลา หรือตามข้อตกลงที่ได้ก�ำหนดร่วมกันในชั้นเรียน และให้เด็กๆ สังเกตลักษณะการหมุนของลูกยาง
ว่าปีกแต่ละขนาดมีผลอย่างไรต่อการเคลื่อนที่หรือการหล่นของลูกยาง ให้เด็กๆ ทดลองซ�้ำ 3 ครั้ง แล้วบันทึกผล
4. การสังเกตและการบรรยาย
• ระหว่างการทดสอบ ครูกระตุ้นให้เด็กๆ สังเกตว่า
ลูกยางมีลักษณะการหล่นอย่างไร เช่นลูกยาง
หล่นลงตรงๆ หรือหมุนติ้วในอากาศแล้วตกลงมา
และสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานเพียงใด
• หลังการทดลอง ให้เด็กๆ ช่วยกันคิดว่าอะไรคือ
สาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ลูกยางสามารถลอยอยู่ใน
อากาศได้นาน แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ
เพื่อนๆ และครู
5. บันทึกผลการทดลอง
• บันทึกผลการทดสอบการปล่อยลูกยาง และเวลา
ที่ลูกยางตกถึงพื้น ครูและเด็กช่วยกันบันทึก
ข้อมูลที่สังเกตได้จากการทดลองเพิ่มเติม
• ครูและเด็กช่วยกันรวบรวมผลการทดลองและ
แบบบันทึก เพื่อน�ำมาจัดแสดงโดยสามารถน�ำ
ลูกยางของเด็กทุกคนในห้องมาร้อยรวมกันเป็น
โมบาย (mobile) ลูกยาง เพื่อให้เด็กๆ สามารถ
จ�ำการทดลองได้ดีขึ้น
ข้อแนะนำ�
ผลการทดลองที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ละคน
อาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับการติดปีก และวิธีการ
ปล่อยลูกยาง
รูปที่ 11
ตารางบันทึกผลการทดลอง