

16
นิตยสาร สสวท
ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ 6 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ผู้สอนสามารถน�ำผู้เรียนเข้าสู่กิจกรรมด้วยการ
เล่านิทาน ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยสร้างความสนใจ ให้เด็กได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมที่จะได้เรียนรู้ต่อไป
นิทานการเดินทางของลูกยาง
ขั้นตอนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ในกาลครั้งหนึ่งที่นานมากแล้ว ณ ป่าที่อยู่ไกลแสนไกล เมื่อสายลมต้นฤดูร้อนพัดผ่านมา เมล็ดน้อย ๆ ของยาง
ได้หลุดร่วงจากต้น แต่ไม่ตกลงสู่พื้นดิน
“ท�ำไมฉันจึงลอยออกไปไกลจากต้นยางนะ” ลูกยางน้อยเอ่ยถามด้วยความสงสัย
“สวัสดีจ้ะลูกยาง ฉันคือสายลมในฤดูร้อน ที่พัดเธอลอยออกมา และจะช่วยพัดเธอไปยังสถานที่ต่าง ๆ”
“ฉันสงสัยว่าเมื่อเธอพัดฉัน ท�ำไมฉันจึงปลิวและลอยอยู่ในอากาศได้ โดยไม่ตกลงบนพื้นดินในทันที” ลูกยางถาม
“ที่เธอไม่ตกลงมา เพราะตัวเธอมีน�้ำหนักเบา และมีปีกที่ยาวโค้ง 2 ปีก ติดอยู่กับผล ท�ำให้เวลาเธอปลิว
ปีกจะหมุนติ้ว คล้ายใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ ปีกของเธอจึงช่วยพยุงให้เธอลอยอยู่ในอากาศและปลิวไปได้ไกล”
“อ๋อเป็นแบบนี้เอง ขอบคุณ คุณสายลมมากนะจ๊ะ”
รูปที่ 4
ตัวอย่างการรวบรวมความคิด
รูปที่ 3
นิทานเรื่องการเดินทางของลูกยาง
1. ตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสิ่งที่มีในธรรมชาติ
• ต้นไม้บางชนิดสามารถขยายพันธุ์ออกไปยังที่ไกลๆ
ได้อย่างไร
• เมล็ดของพืชที่อาศัยลมในการเดินทาง (กระจายพันธุ์)
ควรมีสมบัติอะไร ?
2. นิทานเรื่องการเดินทางของลูกยางสามารถนำ�นักเรียน
ไปสู่การรวบรวมความคิดและตั้งสมมติฐาน
• ครูเล่านิทานเรื่องการเดินทางของลูกยาง ให้เด็กๆฟัง
แล้ วร่ วมกันตั้งข้ อสังเกตจากนิทานว่ าเหตุใด
ลูกยางจึงลอยอยู่ในอากาศและปลิวออกไปไกลๆ ได้
• ครูทบทวนประสบการณ์ของเด็กๆ ว่าเคยเห็น
ชิ้นส่วนของพืชชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายลูกยาง
หรือไม่ สิ่งที่เด็กๆ เคยเห็นมีลักษณะอย่างไร
• ครูน�ำลูกยางรูปแบบต่างๆ และผลของพืชชนิด
อื่นๆ ที่มีลักณะคล้ายกันมาให้เด็กๆ ร่วมกัน
อภิปรายในประเด็นลักษณะของผล ขนาด จ�ำนวน
และรูปร่างของปีก ว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร
• ครูน�ำลูกยางชนิด 2 ปีก ที่มีขนาดปีกต่างกันคือ
เล็ก – กลาง - ใหญ่ ให้เด็กสังเกตและคาดเดาว่า
ลูกยางที่มีปีกแบบใดจะลอยอยู่ในอากาศได้นาน
ที่สุด ร่วมกันบันทึกสมมติฐาน
ครูและเด็กร่วมกัน
ตั้งสมมติฐาน
ที่เกี่ยวข้อง
