

19
ปีที่ 44 ฉบับที่ 201 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559
รูปที่ 12
ภาพจ�ำลองหลักการร่อนของลูกยาง
รูปที่ 13
Paper helicopter
สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2559
ที่มา: https://www.exploratorium.edu/ science_explorer/roto-copter.html6. อภิปรายผลการทดลอง
• ครูและเด็กร่วมกันจดบันทึกผลการทดลอง สิ่งใดที่คาดคะเนเหตุการณ์ได้ ถูกต้องและไม่ถูกต้อง จากนั้นร่วมกันบอกลักษณะ
ของลูกยางที่ได้จากการทดลอง
• ครูเชื่อมโยงผลการทดลองที่เกิดขึ้นกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ตามธรรมชาติของลูกยาง เช่น ลูกยางมีน�้ำหนักเบา
มีปีกยาวโค้งอย่างน้อยสองปีกที่วางตัวอยู่ด้านตรงกันข้าม เพื่อสร้างความสมดุล เมื่อตกจากต้นไม้สูง การมีลมช่วยพัด
จะท�ำให้ลูกยางลอยออกไปได้ไกล การลอยออกไปไกลๆจะช่วยให้เมล็ดสามารถกระจายพันธุ์ไปยังที่ต่างๆ ได้
เนื้อหาเพิ่มเติม
หลักการร่อนของลูกยาง คล้ายปีกเครื่องบินตรงที่
ส่วนบนของปีกมีความยาวมากกว่าส่วนล่าง เวลาเครื่องบิน
เคลื่อนที่ผ่านไปในอากาศ ความดันของอากาศบนปีกจะต�่ำกว่า
ความดันใต้ปีก ท�ำให้ปีกลอยตัว แรงโน้มถ่วงจะดึงให้ลูกยางตกลงมา
แต่ปีกและส่วนของผล (เมล็ด) จะช่วยพยุงท�ำให้ตกช้า ซึ่งมุมของปีก
ที่มีต่อการเคลื่อนที่ เรียกว่า มุมปะทะ (angle of attack) จะท�ำให้
เกิดแรงบิด ลูกยางจึงหมุนรอบแกนดิ่งระหว่างตก
ข้อเสนอแนะ
: ถ้าครูไม่สามารถหาลูกยางจริงได้ ก็สามารถใช้วิธีสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต แล้วพิมพ์ตัวอย่างมาให้เด็กๆ สังเกต
แบบที่เลือกควรแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนของเส้นใบที่ปีกอย่างชัดเจน และควรให้ข้อมูลแก่เด็กเกี่ยวกับที่มาของ
แหล่งอ้างอิงที่ครูสืบค้นมาด้วย
: ควรก�ำหนดสิ่งที่ต้องควบคุมในการทดลองให้เหมาะสม เช่น ขนาดของดินน�้ำมัน และความยาวของไม้จิ้มฟัน
การออกแบบที่แตกต่างเพื่อกระตุ้นทักษะการสังเกต
ผู้อ่านอาจเคยเห็นกิจกรรม paper helicopters ที่มีหลักการคล้ายการร่อนของปีกลูกยาง
แต่ส�ำหรับแบบปีกในที่นี้จะแตกต่างออกไป หากผู้อ่านสังเกตบริเวณปีกจะพบว่า ผู้เขียนได้ออกแบบให้
มีลายของเส้นท่อล�ำเลียง และส่วนปีกที่มีความโค้งมน คล้ายปีกของลูกยางจริงในธรรมชาติ จุดประสงค์
ในการออกแบบ เพื่อให้ครูได้ชี้ชวนให้เด็กหัดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการน�ำมาใช้
ในการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ โดยสังเกตส่วนประกอบของปีกลูกยาง ว่ามีท่อล�ำเลียงน�้ำที่มี
ลักษณะเป็นเส้น ปีกมีความโค้งมน และมีส่วนของผลที่ลักษณะคล้ายลูกกลม แทนที่จะออกแบบปีกเป็น
กระดาษสี่เหลี่ยม นักเรียนจะได้ใช้ ทักษะการสังเกต ซึ่งเป็นทักษะที่ควรส่งเสริมในเด็กปฐมวัย โดยการใช้
ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายให้เข้าสัมผัส
กับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยตรง เพื่อค้นหาข้อมูลและเชื่อมโยงสิ่งที่พบในธรรมชาติกับการเรียนรู้ (อ้างอิง
จาก หนังสือแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน้าที่ 24)
บรรณานุกรม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551).
หนังสือแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546
.
กรุงเทพมหานคร.
Roto - Copter. Retrieved August 10, 2016, from
https://www.exploratorium.edu/science_explorer/roto-copter.html.ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556).
เอกสารประกอบการอบรมจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร.
ภาพที่ 14 การเชื่อมโยงสิ่งี่ พบเห็นในธรรมชาติ
กับ
การถายทอดเปนแบบํ าลอง
ก
.
ผลของลูกยางในธรรมชาติ
ข
.
แบบจํา
ลองลูกยางก
.
ข
.
รูปที่ 14
การเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติ
กับการถ่ายทอดเป็นแบบจ�ำลอง
(ซ้าย) ผลของลูกยางในธรรมชาติ
(ขวา) แบบจ�ำลองลูกยาง