Table of Contents Table of Contents
Previous Page  25 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 62 Next Page
Page Background

25

ปีที่ 44 ฉบับที่ 201 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

การเรียกชื่อจ�ำนวนในภาษาอังกฤษไม่ได้

ก�ำหนดชื่อเฉพาะให้กับจ�ำนวน 1 ถึง 10 เท่านั้น แต่ยังมี

ชื่อเรียกเฉพาะให้จ�ำนวน 11 และ 12 นั่นคือ eleven

และ twelve และเรียกจ�ำนวน 13 ถึง 19 ด้วยค�ำว่า

-teen เช่น thirteen, fourteen, fifteen, … แล้วเรียกชื่อ

จ�ำนวนพหุคูณของสิบด้วยค�ำว่า -ty เช่น twenty, thirty,

forty, … การที่ภาษาอังกฤษมีชื่อเฉพาะส�ำหรับจ�ำนวน

11 และ 12 และการใช้ค�ำว่า -teen กับ -ty นี้อาจท�ำให้

การเรียกชื่อจ�ำนวนในภาษาอังกฤษมีแบบแผนที่แตกต่าง

จากระบบการเขียนตัวเลขแสดง

จ�ำนวนในระบบฐานสิบ เนื่องจาก

จ�ำนวน เช่น 12 ซึ่งใช้ค�ำว่า twelve

หรือ 17 ซึ่งใช้ค�ำว่า seventeen

ไม่ปรากฏความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง

กับค่าประจ�ำหลักสิบในลักษณะ

เดียวกับในภาษาจีน ความซับซ้อน

ในการเรียกชื่อจ�ำนวน 1 ถึง 20

ในภาษาอังกฤษจึงอาจเป็นเหตุผล

ที่ท�ำให้นักเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ

เป็นภาษาหลักไม่มีโอกาสสัมผัส

กับโครงสร้างของค่าประจ�ำหลักสิบ

และหลักหน่ วยในการขานชื่อ

จ�ำนวนโดยเฉพาะเมื่อเขาเริ่มต้น

รู้จักวิธีการนับจ�ำนวน 1 ถึง 20

แล้วต้องมาท�ำความเข้าใจเรื่องค่า

ประจ�ำหลักใหม่หลังจากที่ได้เริ่มต้น

เรียนคณิตศาสตร์แล้ว บทความของ

Sue Schellenbarger ได้อ้างถึง

งานวิจัยของ Ho & Fuson (1998)

ที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจ

เรื่องค่าประจ�ำหลักของจ�ำนวนตั้งแต่ 11 ถึง 19 ระหว่าง

เด็กจีนและเด็กที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งในสหราชอาณาจักร

และสหรัฐอเมริกา และพบว่า ในวัย 5 ขวบ เด็กจีนจะเริ่ม

เข้ าใจและเห็นความสัมพันธ์ ระหว่ างหลักสิบและ

หลักหน่วย ในขณะที่เด็กที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่ปรากฏ

ความเข้ าใจลักษณะนี้ในช่ วงวัยเดียวกัน ซึ่งวิธี

การเรียกชื่อจ�ำนวน 1 ถึง 20 ที่ไม่เหมือนกันในภาษาจีน

และภาษาอังกฤษน่าจะเป็นสาเหตุที่ท�ำให้เกิดความแตกต่าง

ในผลการวิจัยนี้

เมื่อพิจารณาการเรียกชื่อจ�ำนวน 1 ถึง 99

ในภาษาไทยของเราดังแสดงไว้ ในตาราง จะพบว่ า

มีการเรียกชื่อที่ใกล้ เคียงกับภาษาจีนมาก นั่นคือ

ในการขานจ�ำนวนสองหลัก เช่น 72 จะเริ่มต้นด้วยการ

ขานชื่อตัวเลขหลักสิบก่อน ตามด้วยการขานชื่อหลักสิบ

แล้วตามด้วยชื่อตัวเลขหลักหน่วย ซึ่งก็จะได้ว่า ‘เจ็ด-สิบ-

สอง’ ตามวิธีการเดียวกับการเรียกชื่อจ�ำนวนในภาษาจีน

ว่า ‘ชี-สือ-เอ้อ’ โดยสามารถแสดงการด�ำเนินการทาง

เลขคณิตที่ละไว้ได้ว่า เจ็ด(คูณ)สิบ(แล้วบวก)สอง หรือ

(7x10)+2 = 72 เพียงแต่จะมีข้อ

ยกเว้นอยู่สองจุด คือ หาก 1 เป็น

ตัวเลขประจ�ำหลักหน่วยของตัวเลข

สองหลักเมื่อใด เราจะเปลี่ยนจาก

การขาน ‘หนึ่ง’ เป็น ‘เอ็ด’ เช่น

‘สี่-สิบ-เอ็ด’ และหาก 2 เป็นตัวเลข

ประจ�ำหลักสิบเมื่อใด เราจะเปลี่ยน

จากการขาน ‘สอง’ เป็น ‘ยี่’ เช่น

‘ยี่-สิบ-สอง’ ซึ่งก็เป็นวิธีการเรียกชื่อ

จ�ำนวนที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การใช้ค�ำว่า ‘เอ็ด’ และ ‘ยี่’ นี้เองที่

อาจท�ำให้การเรียกชื่อจ�ำนวน 1 ถึง

100 ในภาษาไทยมีแบบแผนการ

นับที่ซับซ้อนกว่าในภาษาจีน และ

อาจท�ำให้นักเรียนไม่เห็นความเชื่อม

โยงของการที่ 1 เป็นเลขประจ�ำหลัก

หน่วยของตัวเลขสองหลัก เนื่องจาก

ได้เปลี่ยนไปเรียกว่า ‘เอ็ด’ และ

ความเชื่อมโยงของการที่ 2 เป็น

ตัวเลขประจ�ำหลักสิบ เนื่องจากได้

เปลี่ยนไปเรียกว่า ‘ยี่’ เสียแล้ว

ประเด็นที่เกี่ยวกับการนับนี้แม้จะเป็นเรื่องที่เรา

คุ้นเคยกันมานานแล้ว แต่ในการเริ่มต้นสอนคณิตศาสตร์

ในเรื่องค่าประจ�ำหลัก ครูผู้สอนจ�ำเป็นต้องเชื่อมโยง

ค�ำว่า “เอ็ด” กับ “หนึ่ง” และ “ยี่” กับ “สอง” ตามล�ำดับ

เพื่อให้เห็นกลไกการค�ำนวณที่แฝงอยู่ในการนับ เช่น

จ�ำนวน ‘ยี่-สิบ-เอ็ด’ ซึ่งนักเรียนควรสามารถเชื่อมโยง

ได้ว่ามันคือ สอง(คูณ)สิบ(แล้วบวก)หนึ่ง หรือ (2x10)+1

= 21 แม้ว่าในค�ำว่า ‘ยี่-สิบ-เอ็ด’ จะไม่มีค�ำว่า สอง

การนับใน

ภาษาอังกฤษ

การนับใน

ภาษาไทย

รูปที่ 4

การนับภาษาอังกฤษ

ที่มา: https://lh3.ggpht.com/A4GFratd3HZvPxRQq- SEZuH_eLCXualJ-Jsduh-x-ozqnBftc5rgLtz1tVFflMU- ceeQ=h900