Table of Contents Table of Contents
Previous Page  27 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 27 / 62 Next Page
Page Background

27

ปีที่ 44 ฉบับที่ 201 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

จากตัวอย่างที่ได้แสดงในบทความนี้จะเห็นได้ว่า

ภาษาและการนับมีความละเอียดอ่อนต่อการศึกษาหลักการ

ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญและความแตกต่าง

ของโครงสร้างการขานจ�ำนวนในแต่ละภาษาอาจส่งผลต่อ

ความเข้าใจเรื่องค่าประจ�ำหลักและระบบการเขียนตัวเลข

ฐานสิบของนักเรียนที่แตกต่างกันได้ แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มี

งานวิจัยที่เน้นศึกษาปัจจัยด้านความแตกต่างทางการขาน

จ�ำนวนในแต่ละภาษากับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน

อย่างจริงจัง เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะนอกจากผู้วิจัย

จะต้องมีความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ศึกษาเป็นพื้นฐานแล้ว

อาจจ�ำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในภาษาต่างๆ มาประกอบ

กันไปด้วย แม้แต่ในภาษาไทยเอง ปฏิกิริยาของนักเรียนที่มี

ต่อค�ำว่า “เอ็ด” กับ “ยี่” กับการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกี่ยวกับ

ค่าประจ�ำหลักของตัวเลข 1 และ 2 ก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ

ที่ควรมีผู้ศึกษา และท�ำงานวิจัย เพื่อส�ำรวจต่อไปว่าได้สร้าง

ปัญหาในการตีความและท�ำความเข้าใจของผู้เรียนบ้าง

หรือไม่ เพียงใด

บรรณานุกรม

Ho, Connie Suk-Han & Fuson, Karen C. (1998). Children's knowledge of teen quantities as tens and ones:

Comparisons of Chinese British and American kindergarteners.

Journal of Educational

Psychology

.

90

(3), 536-544.

Schellenbarger, S. (2014). The Best Language for Math.

The Wall Street Journal

. Retrieved March 21, 2016,

from

http://www.wsj.com/articles/the-best-language-for-math-1410304008.

นอกจากนี้ การเรียกชื่อจ�ำนวน 70 ถึง 99 ในภาษา

ฝรั่งเศส ได้มีการใช้การด�ำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน

มากยิ่งขึ้น โดยจ�ำนวนตั้งแต่ 70 ถึง 79 จะใช้วิธีการบวก

จ�ำนวน 60 ด้วย จ�ำนวน 10 ถึง 19 ตามล�ำดับ เช่น จ�ำนวน

72 จะขานว่า soixante-douze (ซัวซองเตอ-ดูซ) ซึ่งแปล

ตรงตัวได้ว่า หกสิบ-สิบสอง และสามารถเขียนเป็นการ

ด�ำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้ 60+12 = 72 หรือจ�ำนวน 79

จะขานว่า soixante-dix-neuf (ซัวซองเตอ-ดิซ-เนิฟ) ซึ่งแปล

ตรงตัวได้ว่า หกสิบ-สิบ-เก้า และสามารถเขียนเป็นการด�ำเนิน

การทางคณิตศาสตร์ได้ว่า 60+10+9 ซึ่งซับซ้อนกว่าการบวก

ของหลักสิบและหลักหน่วยตามที่ใช้กันทั่วไปในภาษาอื่นๆ

แต่กลุ่มตัวเลขที่มีโครงสร้างในการขานซับซ้อนมากที่สุดใน

ภาษาฝรั่งเศส คือจ�ำนวน 80 ถึง 99 โดยจ�ำนวน 80 จะเรียก

กันว่า quatre-vingts (กัทเตรอะ-แวงต์ส์) ซึ่งแปลตรงตัว

ได้ว่า สี่-ยี่สิบ เพื่อแสดงว่าจ�ำนวนแปดสิบคือจ�ำนวนยี่สิบสี่ชุด

และในการขานจ�ำนวน 81 ถึง 99 ก็ให้เพิ่มจ�ำนวน 1 ถึง 19

ต่อท้ายไป ท�ำให้การขานจ�ำนวน 81 ถึง 99 ในภาษาฝรั่งเศส

มีความซับซ้อนและยาวกว่าในภาษาอื่น ๆ เช่น จ�ำนวน 98

จะขานว่า quatre-vingt-dix-huit (กัทเตรอะ-แวงต์ส์-ดีส-วีท)

ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า สี่-ยี่สิบ-สิบ-แปด และสามารถเขียน

เป็นการด�ำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้เป็น (4x20)+(10+8) = 98

จึงเห็นได้ว่ามีการใช้การด�ำเนินการทั้งการคูณและการบวกที่

ซับซ้อนและแตกต่างจากลักษณะการด�ำเนินการในจ�ำนวน

สองหลักในภาษาจีนและภาษาไทยเป็นอย่างมาก

ซึ่งความซับซ้อนของการขานจ�ำนวนสองหลักใน

ภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศสเหล่านี้ สามารถยกเป็น

ประเด็นอภิปรายได้ว่า ในการขานจ�ำนวนด้วยภาษาเหล่านี้ซึ่ง

เป็นทักษะที่นักเรียนได้เรียนรู้ก่อนจะรู้จักการด�ำเนินการทาง

คณิตศาสตร์ อาจท�ำให้พวกเขามีมโนทัศน์เกี่ยวกับการบวก

การคูณ และสมบัติการสลับที่ ตั้งแต่เริ่มรู้จักการนับก็ได้ ซึ่ง

อาจส่งผลให้นักเรียนเข้าใจกลไกการค�ำนวณทางคณิตศาสตร์

เหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้นในเวลาต่อมา

สรุป

รูปที่ 6

การเรียนการสอนในแต่ละประเทศ

ที่มา:

http://www.wsj.com/news/interactive/WORKFAM0910