

8
นิตยสาร สสวท
รูปที่ 4
กัลวานี (Luigi Galvani) นักฟิสิกส์และแพทย์ชาวอิตาเลียน
(ค.ศ. 1737–1798)
ที่มา:
http://www.museopalazzopoggi.unibo.itรูปที่ 5
วอลตา (Alessandro Volta)
นักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียน
(ค.ศ. 1745 – 1827)
ที่มา:
http://www.anthroposophie.netรูปที่ 6
Voltaic pile ในพิพิธภัณฑ์
แสดงงานของวอลตา
ที่เมืองโคโม ประเทศอิตาลี
(ภาพโดย GuidoB)
ที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/Voltaic_pile
รูปที่ 7
แผนภาพแสดงส่วนประกอบของ Voltage pile
(ภาพโดย Luigi Chiesa)
ที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/Voltaic_pileในปี ค.ศ. 1799 เมื่อวอลตา (Alessandro Volta)
นักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียน ทราบผลการทดลองของกัลวานี
เขาได้พิจารณาเห็นว่า สาเหตุที่ท�ำให้ขากบกระตุกเนื่องจาก
การมีปฏิกิริยาเคมีบางอย่างระหว่างแท่งโลหะที่น�ำมาจิ้ม
ขากบกับแผ่นโลหะที่ใช้วางตัวกบ เขาจึงทดลองน�ำแผ่นโลหะ
ต่างชนิดกันสองแผ่นมาแนบที่ลิ้นด้านบนและลิ้นด้านล่างใน
ปากของเขาเพื่อทดสอบปฏิกิริยาของลิ้นต่อสิ่งที่ไหลระหว่าง
แผ่นโลหะทั้งสอง ผลปรากฏว่าลิ้นของเขารับรู้ของเหลวที่มี
รสชาติเหมือนกรด
ต่อมา เขาได้ทดลองน�ำกระดาษที่เปียกชุ่มด้วย
น�้ำเกลือมาเป็นวัสดุแทนลิ้นของเขา แล้วน�ำแผ่นโลหะ 2 ชนิด
ได้แก่ สังกะสี และ เงิน มาประกบ จากนั้นน�ำวัสดุทั้งสองมา
วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ หลายชั้น และได้เชื่อมต่อส่วนบนสุดของ
ชั้นกับส่วนล่างสุดด้วยลวดโลหะ เขาพบว่า อุปกรณ์นี้สามารถ
ให้ก�ำเนิดกระแสไฟฟ้าได้
อุปกรณ์ของวอลตา ต่อมาได้รับการตั้งชื่อว่า
Voltaic pile ซึ่งถือได้ว่าเป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีเซลล์แรกของโลก
ในเวลาต่อมา วอลตาได้พัฒนา Voltaic pile ให้จ่ายกระแสไฟฟ้า
อย่างเสถียรยิ่งขึ้น และนานมากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนคู่แผ่นโลหะ
เป็นสังกะสีกับทองแดง และเปลี่ยนอิเล็กโทรไลต์เป็นกรดซัลฟิวริก
ผสมกับน�้ำ หรือน�้ำเกลือ ซึ่งสามารถเขียนสมการปฏิกิริยาเคมี
ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ Zn
Zn
2+
+ 2e- และ 2H+ + 2e-
H
2
ในปี ค.ศ. 1791 กัลวานี (Luigi Galvani) ได้สังเกต
เห็นว่า เมื่อเขาใช้แท่งโลหะยาวจิ้มที่ขาของกบที่เสียชีวิตแล้ว
ขาของกบจะกระตุก เขาจึงคิดว่า การจิ้มขากบด้วยแท่งโลหะ
เป็นการให้ “พลังชีวิต” แก่กบ ในภายหลัง เขาได้เรียนรู้ว่า
เนื่องจากตัวกบที่เสียชีวิตแล้วนั้นวางอยู่บนแผ่นโลหะ ที่ต่างชนิด
กับแท่งโลหะ เมื่อใช้แท่งโลหะสัมผัส ขากบจะเกิดกระแส
ไฟฟ้าไหล ขากบจึงกระตุก