Table of Contents Table of Contents
Previous Page  39 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 39 / 62 Next Page
Page Background

39

ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561

คาบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง

ดาวเคราะห์วงนอก 3 ดวงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า

และอยู่ใกล้โลกที่สุด

ดาวเคราะห์ทุกดวงจะเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์

ไปทางเดียวกันคือ จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก

ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ดาวเคราะห์วงใน

เคลื่อนที่เร็วกว่าโลก และดาวเคราะห์วงนอกเคลื่อนที่ช้ากว่า

โลก เวลาที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์1 รอบเทียบกับ

ดาวฤกษ์ เรียกว่า

คาบดาราคติ (Siderial period)

หรือ คาบ

ที่เวลามองจากอวกาศจะเห็นดาวเคราะห์กลับมาถึงที่เดิม

ในวงโคจร คาบเหล่านี้สามารถค�ำนวณได้ โดยใช้กฎเคพ

เลอร์ หากทราบระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์

ส่วนช่วงเวลาระหว่างการเห็นดาวเคราะห์อยู่

ณ ต�ำแหน่งเดิม เทียบกับดวงอาทิตย์ครั้งแรกถึงครั้งถัดไป

เรียกว่า

คาบซินอดิก (Synodic period)

เช่น เวลาระหว่าง

การเห็นดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ต�ำแหน่ง

Opposition) ครั้งแรกถึงครั้งถัดไป เรียกว่า คาบซินอดิกของ

ดาวอังคาร ในทางปฏิบัติ นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบ

ซินอดิกของดาวเคราะห์ได้จากโลก แล้วน�ำไปค�ำนวณ

หาคาบดาราคติของดาวเคราะห์ดวงนั้นได้ ความสัมพันธ์

ระหว่างคาบดาราคติ(P)และคาบซินอดิก(S)ของดาวเคราะห์วงใน

คือ 1/P – 1/S = 1 และของดาวเคราะห์วงนอก คือ 1/P + 1/S

= 1 เช่น ดาวอังคารมีคาบซินอดิกเท่ากับ 780 วัน หรือ

780/365.25 ปี = 2.13 ปี จึงค�ำนวณได้ว่า ดาวอังคาร

มีคาบดาราคติ (P) = 1.88 ปี เป็นต้น

มีดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง คือ

ดาวพุธกับดาวศุกร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์วงใน และดาวอังคาร

ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ซึ่งเป็นดาวเคราะห์วงนอก ดาวเคราะห์

วงนอกจะอยู่ใกล้โลกที่สุดปีละ 1 ครั้งทุกดวง ยกเว้นดาว

อังคาร ซึ่งจะอยู่ใกล้โลกที่สุด ทุกๆ 2 ปีกับ 50 วัน และทุกครั้ง

ที่อยู่ ใกล้กันที่สุด ก็มีระยะใกล้ที่สุดแตกต่างกันด้วย

ดาวอังคารจึงเป็นดาวเคราะห์ที่ผู้คนให้ความสนใจ ติดตาม

เฝ้าสังเกตในช่วงที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด

เรียงล�ำดับตามเวลาใน ค.ศ.2018 คือดาวพฤหัสบดี

ดาวเสาร์ และดาวอังคาร

1.ดาวพฤหัสบดี

อยู่ในต�ำแหน่งตรงข้ามกับดวง

อาทิตย์และอยู่ใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2018

โดยเริ่มปรากฏถอยหลังเมื่อ 3 มีนาคม ค.ศ. 2018 และสิ้นสุด

การปรากฏถอยหลังในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 รวม

ปรากฏถอยหลังนาน 4 เดือน 23 วัน กลุ่มดาวที่ดาวพฤหัสบดี

ปรากฏถอยหลังคือ กลุ่มดาวคันชั่ง

2. ดาวเสาร์

อยู่ในต�ำแหนงตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

และอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2018 เริ่ม

ปรากฏถอยหลังเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2018 และสิ้นสุด

การปรากฏถอยหลังในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2018 รวม

ปรากฏถอยหลังนาน 4 เดือน 20 วัน กลุ่มดาวที่ดาวเสาร์

ปรากฏถอยหลังคือ กลุ่มดาวคนยิงธนู

3. ดาวอังคาร

อยู่ในต�ำแหน่งตรงข้ามกับดวง

อาทิตย์ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 และอยู่ใกล้โลก

ที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เริ่มปรากฏถอยหลัง

ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2018 และสิ้นสุดการปรากฏถอย

หลังในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2018 รวมปรากฏถอยหลัง 2

เดือน 1 วัน กลุ่มดาวที่ดาวอังคารปรากฏอยู่ในขณะถอยหลัง

คือ กลุ่มดาวมกร

ดาวพฤหัสบดี

ดาวเสาร์

ดาวอังคาร