

34
นิตยสาร สสวท
ส�ำหรับข้อมูลการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในภูมิภาคเอเซีย ปี ค.ศ. 2016 จากศูนย์วิจัยระบาดวิทยาด้านภัยพิบัติ
(Centre for Research on the Epidemiology of Disaster: CRED) ดังภาพ 2 ได้เปรียบเทียบข้อมูลค่าเฉลี่ยการเกิดภัยพิบัติ
ทางธรรมชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 – 2015 กับข้อมูลการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี ค.ศ. 2016 พบว่า ภัยพิบัติธรรมชาติ
ทางน�้ำและพายุเกิดขึ้นบ่อยเมื่อเทียบกับภัยพิบัติด้านอื่นๆ โดยภัยพิบัติทางน�้ำที่เกิดขึ้นมีค่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ยกเว้นใน
เอเซียตะวันออกที่มีการรายงานการเกิดภัยพิบัติทางน�้ำมากกว่าที่อื่น ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานการเกิดภัยพิบัติจากพายุ
ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากค่าเฉลี่ย แต่ไม่มีรายงานการเกิดภูเขาไฟระเบิด
ภาพ 2
ข้อมูลการเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคต่างๆ ของทวีปเอเซีย ปี ค.ศ. 2016 เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย ปี ค.ศ. 2006 - 2015
ที่มา
Guha-Sapir D, Hoyois Ph., Wallemacq P. Below. R., 2017
ภาพ 3
สถานการณ์อุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
จังหวัดอยุธยา พ.ศ. 2554
ประเทศไทยประสบภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบอย่าง
รุนแรงหลายครั้ง ข้อมูลสถิติการเกิดภัยพิบัติแต่ละประเภท
ดังตาราง 1 แสดงว่าภัยจากการคมนาคมและการขนส่งมีมาก
ที่สุด แต่อุทกภัยสร้างความเสียหายมูลค่ามากที่สุด เมื่อย้อน
กลับไปพิจารณาเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทย
ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมกราคม
พ.ศ. 2555 เหตุการณ์ครั้งนั้นท�ำให้พื้นที่ได้รับผลกระทบมาก
จนได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด ราษฎรเดือดร้อนจ�ำนวนมากกว่า 4 ล้าน
ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 11 ล้านไร่ รวมถึง
การคมนาคมที่ถูกตัดขาดในหลายพื้นที่ ธนาคารโลกรายงานว่า
เหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1.43 ล้านล้านบาท (กรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, 2557) นอกจาก
นี้ประเทศไทยยังเคยประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ อีก
เช่น วาตภัยที่แหลมตะลุมพุก พ.ศ. 2505 การเกิดแผ่นดินไหว
และสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่ได้สร้าง
ความสูญเสียครั้งร้ายแรงให้แก่ประเทศไทย และประเทศ
เพื่อนบ้าน โดยมีคนเสียชีวิตและสูญหายเป็นจ�ำนวนมาก