Table of Contents Table of Contents
Previous Page  30 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 30 / 62 Next Page
Page Background

30

นิตยสาร สสวท

ผู้สอนจึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย เพื่อ

ให้มีความช�ำนาญ จนสามารถน�ำไปใช้จัดการเรียนการสอน

ในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการพัฒนา

สื่อแอพพลิเคชันหลายรูปแบบที่ช่วยการเรียนการสอนใน

ห้องเรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมหาวิทยาลัย

โดยสื่อเหล่านี้จะอิงหลักของพัฒนาการตามวัยของเด็ก

เช่น แอพพลิเคชันฝึกทักษะเด็กปฐมวัย ซึ่งช่วยฝึกการใช้

กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้มือขยับเมาส์ เพื่อลากโยงเส้น

หรือวาดรูปสิ่งต่างๆ ได้ตามจินตนาการ เมื่อเด็กเข้าสู่

ระดับประถมศึกษา จึงเริ่มน�ำแอพพลิเคชันมาประยุกต์ให้

เข้ากับวิชาเรียนมากขึ้น เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษ ผู้สอนน�ำ

แอพพลิเคชันโฟเนติกส์ (Phonetics) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อช่วย

ฝึกการออกเสียงค�ำศัพท์ให้ได้ส�ำเนียงที่ถูกต้อง ในวิชา

คณิตศาสตร์ผู้สอนน�ำแอพพลิเคชันคาฮูต (Kahoot) ซึ่ง

พัฒนาจากการตอบโจทย์ปัญหาในห้องเรียน โดยผู้สอน

จะสร้างชุดค�ำถามขึ้นหนึ่งชุด จากนั้นให้ผู้เรียนตอบค�ำถาม

โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต

ผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ผู้ที่ตอบได้เร็วและถูกต้องที่สุด

ในวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้สอนมีแอพพลิเคชันแพตเล็ต (Padlet)

ซึ่งพัฒนาจากกระดานให้แสดงความคิดเห็น โดยแอพพลิเคชันนี้

จะเป็นเสมือนกระดานหน้าชั้นเรียนที่นักเรียนทุกคนสามารถ

ท�ำงานร่วมกันได้ เช่น สามารถเขียนข้อคิดเห็น ข้อสรุป

ตลอดจนข้อซักถามต่างๆ ทั้งในรูปแบบภาพนิ่งและ

ภาพเคลื่อนไหว โดยทุกคนจะสามารถเห็นข้อมูลทั้งหมด

บนกระดานได้พร้อมกัน แอพพลิเคชันนี้จึงสามารถใช้ใน

การบันทึกข้อมูลผลการท�ำกิจกรรม แทนการจดบันทึก

โดยใช้ปากกาบันทึกลงในกระดาษด้วย

นอกจากนี้การประเมินการสอน ผู้สอนสามารถ

ใช้แอพพลิเคชันเมนติมิเตอร์ (Mentimeter) ซึ่งสามารถ

ประเมินผลแบบรู้ผลในทันที (Real Time) วิธีหนึ่งที่สามารถ

ท�ำได้ง่ายคือ ผู้สอนเป็นคนตั้งค�ำถามเกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ

แล้วให้ผู้เรียนเข้าไปลงคะแนน เช่น หลังการเรียน ผู้เรียน

มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนอย่างไร โดยมีข้อความ

ให้เลือกคือ เข้าใจมาก เข้าใจปานกลาง และเข้าใจน้อย

ซึ่งผู้สอนสามารถทราบผล และน�ำผลไปปรับใช้ในการสอน

ครั้งถัดไปได้ ในทันที แอพพลิเคชันเหล่านี้เป็นเพียง

ตัวอย่างที่ผู้สอนสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน

การสอนในห้องเรียน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้

และเพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ภาพ

6.1 และ 6.2 เป็นรูปของนักเรียนคนเดียวกัน ศึกษาเรื่อง

เดียวกัน แต่มีวิธีเรียนที่แตกต่างกัน

การเรียนโดยใช้เทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น เปดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความ

คิดเห็น และถาม-ตอบคําถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนบางคนที่มักเขินอายเมื่อต้องพูดต่อหน้าเพื่อนในห้อง จะท�ำให้ผู้เรียน

เหล่านี้มีโอกาสเรียนรู้ได้มากขึ้น แอพพลิเคชันเหล่านี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ขั้นตอนการติดตั้งและการใช้งานไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้

โดยผ่านสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ภาพ 6.1

การเรียนโดยใช้หนังสือเรียนเท่านั้น

ภาพ 6.2

การเรียนโดยใช้เทคโนโลยีที่ถนัดและคุ้นเคย