Table of Contents Table of Contents
Previous Page  6 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 6 / 62 Next Page
Page Background

6

นิตยสาร สสวท

ภาพ 6

โครงการศึกษาทดลองการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว

อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ อ�ำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ที่มา

http://www.dnp.go.th/planing/special_project/2545/Central/ DinPrew.htm

วิธีการปรับปรุงดิน

เมื่อแกล้งดินเสร็จแล้ว ต่อไปก็ต้องมีวิธีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยมีหลายวิธีการดังนี้

1.

ใช้ปูน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล เปลือกหอยบด หรือหินปูนฝุ่น ใส่ลงไปในดินประมาณ 1-3 ตันต่อไร่ แล้วผสมให้เข้ากัน

ปูนซึ่งเป็นเบสจะท�ำปฏิกริยาสะเทินกับกรดก�ำมะถันในดิน ท�ำให้ดินมีสภาพเป็นกลาง

2.

ใช้น�้ำชะล้างกรดในดินโดยตรง วิธีการนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีใช้ปูน แต่ได้ผลเหมือนกัน

3.

ยกร่องเพื่อปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น โดยต้องมีแหล่งน�้ำอยู่ข้างๆ เพื่อถ่ายเทน�้ำได้ ถ้าน�้ำในร่องเป็นกรด

เมื่อใช้น�้ำชะล้างกรดบนสันร่อง กรดจะถูกน�้ำชะไปยังคูที่อยู่ด้านข้าง แล้วระบายออกไป และต้องค�ำนึงถึงการเกิด

น�้ำท่วมในพื้นที่ด้วย ถ้ามีโอกาสน�้ำจะท่วม ก็ไม่ควรใช้วิธีนี้

4.

ควบคุมระดับน�้ำใต้ดิน ไม่ให้ต�่ำกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ดินชั้นล่างแห้ง หรือท�ำปฎิกริยากับออกซิเจน ซึ่งควร

จะต้องมีแหล่งน�้ำจากระบบชลประทานเข้ามาช่วย

5.

ใช้พืชพันธุ์ที่ทนทานต่อความเป็นกรดมาปลูกในดินเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะขาม กระท้อน ขนุน ฝรั่ง ยูคาลิปตัส

สะเดา อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม "โครงการแกล้งดิน" ไม่ได้สิ้นสุดลงเฉพาะที่

จังหวัดนราธิวาสเท่านั้น แต่ยังได้น�ำไปใช้กับจังหวัดอื่นๆ ด้วย โดยในปี

พ.ศ. 2535 ได้มีการน�ำไปใช้ในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน�้ำปากพนัง

อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บางส่วน

ของจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา และโครงการพัฒนาพื้นที่

พรุแฆแฆ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ อ�ำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

และในปีพ.ศ. 2541 ได้น�ำมาใช้กับโครงการศึกษาทดลองการแก้ปัญหา

ดินเปรี้ยว อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ อ�ำเภอบ้านนา จังหวัด

นครนายก ดังนั้นโครงการนี้ จึงเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้แก่

ราษฎรทั่วประเทศ

แกล้งดินท�ำอย่างไร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ได้ศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ

"แกล้งดิน" คือ การท�ำดินให้เปรี้ยวจัดหรือเป็นกรดมากที่สุด ด้วยการท�ำให้ดินเปียกและแห้งสลับกันไป โดยการทดน�้ำ

เข้าแปลงทดลองระยะหนึ่งแล้วระบายน�้ำออก เพื่อท�ำให้ดินแห้งเป็นระยะเวลาหนึ่งสลับกัน เท่ากับเป็นการกระตุ้น

ให้ดินมีความเป็นกรดยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงให้เลียนแบบ

สภาพความเป็นไปในธรรมชาติ ที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันไป โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน�้ำให้ดินเปียก

นาน 2 เดือน สลับกันไป จึงเกิดภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ ใน 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง

ในเวลา 1 ปี หลังจากที่เสร็จกระบวนการนี้แล้วจึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น