Table of Contents Table of Contents
Previous Page  9 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 9 / 62 Next Page
Page Background

9

ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561

สื่อการเรียนรู้เรื่อง

พีซีอาร์

ยุค

ศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยี

ก้าวหน้ามาก โดยเฉพาะทางด้านอณูชีวโมเลกุล

นักวิทยาศาสตร์สามารถทราบได้ว่า ทารก

ในครรภ์เป็นโรคพันธุกรรมได้ตั้งแต่ยังไม่

แสดงอาการใดๆ นักพันธุศาสตร์ตรวจสอบ

พืชต้นใหม่มียีนและลักษณะต้านทานโรค

ตั้งแต่ยังไม่ได้รับเชื้อโรคนั้นๆ เทคนิคส�ำคัญ

ที่ใช้ในการศึกษาดีเอ็นเอหรือยีนคือ เทคนิค

การเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่

โพลีเมอร์เรส (Polymerase Chain Reaction)

หรือเรียกสั้นๆว่า เทคนิคพีซีอาร์ (PCR) ซึ่งเป็น

เทคนิคที่ประยุกต์ใช้ในการศึกษาหลายด้าน

เช่น ด้านการแพทย์ ใช้ในการตรวจสอบโรค

การตรวจพิสูจน์บุคคล การเพิ่มปริมาณยีน

เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาล�ำดับนิวคลีโอไทด์

ใช้ เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระดับ

การแสดงออกของยีน ด้ านการเกษตร

สามารถใช้ตรวจสอบโรค ศึกษาความผันแปร

ทางพันธุกรรม ศึกษาการกลายพันธุ์ของยีน

ท�ำแผนที่ยีน และศึกษาล�ำดับนิวคลีโอไทด์

ของยีนในสิ่งมีชีวิตได้ทุกชนิด เทคนิคพีซีอาร์

จึงเป็นเทคนิคพื้นฐานที่ส�ำคัญทางด้านอณู-

ชีวโมเลกุล และมีเนื้อหาอยู่ในบทเรียนของ

วิชาพันธุศาสตร์ ในหัวข้อดีเอ็นเอเทคโนโลยี

หรือหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

การท�ำงานของปฏิกิริยาพีซีอาร์

เกิดขึ้นภายในหลอดทดลอง แต่ละขั้นตอน

ค่อนข้างมีความซับซ้อน อีกทั้งสารเคมีและ

เครื่องมือส�ำหรับท�ำปฏิบัติการพีซีอาร์

มีราคาแพง ศูนย์จีโนม ซีเควนซิง ของ

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

(Elgin and Flowers, n.d.) ได้ออกแบบสื่อการเรียนรู้พีซีอาร์แบบกระดาษ

เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายและสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเองเสมือน

ทดลองในหลอดทดลอง

จากแนวคิดนี้ท�ำให้คณะผู้จัดท�ำพัฒนาสื่อการเรียนรู้พีซีอาร์ขึ้น

เป็นแบบจ�ำลองพีซีอาร์แผ่นแม่เหล็ก และสร้างสถาณการณ์จ�ำลองอุณหภูมิ

เสมือนในหลอดทดลอง โดยเลียนแบบแต่ละขั้นตอนของปฏิกิริยาพีซีอาร์

แบบจ�ำลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ดีขึ้น การท�ำ

กิจกรรมสามารถท�ำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เนื่องจากสื่อการเรียนรู้นี้

ออกแบบเป็นแผ่นแม่เหล็กติดอยู่บนกระดานเหล็ก เหมาะกับผู้เรียนในระดับ

มัธยมปลาย และนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ท�ำให้เข้าใจหลักการและ

ขั้นตอนของการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของปฏิกิริยาพีซีอาร์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

และท�ำให้ครูหรืออาจารย์สามารถจัดการเรียนรู้ เรื่องการเพิ่มปริมาณ

ดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาพีซีอาร์ ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้โดยไม่จ�ำเป็น

ต้องมีเครื่องพีซีอาร์ และยังเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เชิงรุกที่เหมาะสม

กับระดับผู้ เรียนและสถานการณ์ปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 บทความนี้

จึงน�ำเสนอเรื่องสื่อการเรียนรู้เรื่องพีซีอาร์และกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบ

จ�ำลองพีซีอาร์และสถานการณ์จ�ำลอง ซึ่งได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การประชุม

วิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 23 (วทร.23)

เมื่อวันที่ 15 และ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา ดังภาพ 1

รอบรู้

วิทย์

ดร.อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์ • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ • e-mail:

arunrutv@hotmail.com

ดร.เกษศิรินทร์ รัทจร • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ • e-mail:

kedsirin_p@hotmail.com

ภาพ 1

กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบจ�ำลองพีซีอาร์และสถานการณ์จ�ำลอง ในการจัดอบรม

เชิงปฏิบัติการ การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ระดับชาติ

ครั้งที่ 23