Table of Contents Table of Contents
Previous Page  15 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 15 / 62 Next Page
Page Background

15

ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561

รอบรู้

วิทย์

กุลธิดา สะอาด • นักวิชาการ ฝ่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคคลากรทางการศึกษา สสวท. • e-mail:

ksaar@ipst.ac.th

สหวิทยาการเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมโลกในอนาคต

(Interdisciplinary Approaches to Save Future Earth Environment)

การ

ประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 2

“The 2

nd

Environment and Natural Resources

International Conference (ENRIC 2016) ”

ภายใต้หัวข้อ

สหวิทยาการเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมโลกในอนาคต

(Interdisciplinary Approaches to Save Future Earth

Environment)

มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย

นักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนนักเรียน

นิสิต นักศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สนใจเรื่อง

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ

ประสบการณ์ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัย

และการเผยแพร่ผลงานวิชาการ อีกทั้งยังต้องการสร้าง

ความเข้าใจและความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและ

ทรัพยากรธรรมชาติที่ก�ำลังรุนแรงในปัจจุบัน เช่น ปัญหามลพิษ

ทางอากาศ มลพิษจากฝุ่นละออง การเสื่อมโทรมของดิน

การกัดเซาะชายฝั่ง และการบุกรุกท�ำลายป่า ในการประชุมครั้งนี้

มีวิทยากรบรรยาย 2 ท่าน คือ Dr. Isabelle Louis ผู้อ�ำนวยการ

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations

Environment Programme : UNEP) และ Dr. T.P. Singh

รองผู้อ�ำนวยการองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์

ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for

Conservation of Nature and Natural Resources : IUCN)

ซึ่งบรรยายในหัวข้อเรื่อง วิธีการรักษาสภาพแวดล้อมของโลก

ในอนาคต (How to Save Future Earth Environment) และ

มนุษย์กับการใช้ทรัพยากรโลกในอนาคต (Man and Future

World Resources Utilization) ตามล�ำดับ

Dr. Isabelle กล่าวว่า ในอนาคต จ�ำนวนประชากรโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการบริโภคเพิ่มตามไปด้วย

ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่อาศัยและที่ท�ำมาหากินยังเท่าเดิม มนุษย์จึงต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน หาแหล่งที่อยู่ใหม่ หรือพัฒนา

เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพเพื่อน�ำมาใช้ในการผลิต จนท�ำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมายและต่อเนื่อง

ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเสียสมดุลและมีความเสี่ยงในการถูกท�ำลายมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จึงท�ำให้หลายคนมีความวิตกกังวล

เกี่ยวกับโลกในอนาคต เพราะถ้าจ�ำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างไร้ขีดจ�ำกัด จะท�ำให้เกิดภาวะประชากรล้นโลกจนเกินกว่า

ที่สิ่งแวดล้อมโลกจะรองรับได้

Dr. Isabelle Louis ผู้อ�ำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อม

แห่งสหประชาชาติ

Dr. T.P. Singh รองผู้อ�ำนวยการองค์การระหว่างประเทศ

เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ