

16
นิตยสาร สสวท
ส�ำหรับมนุษย์และการใช้ทรัพยากรโลก
ในอนาคต (Man and Future World Resources
Utilization) นั้น Dr. T.P. Singh กล่าวว่า ทวีปเอเชีย
เป็นทวีปที่มีการเจริญเติบโตแบบไดนามิก คือ มีการ
เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยทวีปเอเชียมีประชากร
ประมาณ 60 % ของทั้งโลก และมี Gross Domestic
Product (GDP) ทั่วโลกประมาณ 40 % นอกจาก
นี้ ก็ยังเป็นทวีปที่มีบทบาทมากในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจโลก ท�ำให้ประเทศต่างๆ ต้องเปลี่ยนจาก
ประเทศที่เคยมีรายได้ค่อนข้างต�่ำไปสู่ประเทศที่มี
รายได้ปานกลาง การเจริญเติบโตดังกล่าวท�ำให้มีการ
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการลงทุน
เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพเป็นอย่างมาก
เช่น เส้นทางโทรคมนาคม ถนน รถไฟ ระบบพลังงาน
ฯลฯ ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในด้าน
ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ท�ำให้
ทุกประเทศต้องเร่งหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รายงาน Living Planet Report ปี พ.ศ.
2559 จัดท�ำโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล
(World Wide Fund for Nature : WWF) กล่าวว่า
จากการใช้ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ
ของโลก (Living Planet Index : LPI) เพื่อประเมิน
ความหลากหลายทางชีวภาพของประชากรสัตว์ที่มี
กระดูกสันหลังหลากหลายชนิดพันธุ์ จ�ำนวน 3,706
ชนิดพันธุ์ แบ่งได้เป็น 14,152 กลุ่ม ได้แก่ สัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ และสัตว์
เลื้อยคลาน พบว่า ในระหว่าง พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ.
2555 ประชากรสัตว์มีกระดูกสันหลังได้ลดจ�ำนวน
ลงมาก คิดเป็นร้อยละ 58 และจ�ำนวนได้ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องทุกปี โดยเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี และไม่มี
แนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้นแต่อย่างใด
ส�ำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ก�ำลังประสบ
ปัญหาการตัดไม้ท�ำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ นับตั้งแต่
พ.ศ. 2535 มีการสูญเสียพื้นที่ป่า คิดเป็นร้อยละ 13 การค้าสัตว์
ป่าผิดกฎหมายและการบริโภคสินค้าสัตว์ป่ามีมากขึ้น นอกจากนี้
ระบบนิเวศทางทะเลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็ได้รับผลกระทบจาก
การประมงเชิงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน โดยมีสาเหตุและผลกระทบ
จากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้
1. สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
อาจแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ สาเหตุทางตรงและสาเหตุทางอ้อม
ซึ่งสาเหตุทางตรงเกิดจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย การแสวงหา
ผลประโยชน์จากป่าที่มากเกินความจ�ำเป็น การเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศ มลภาวะ และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ส่วนสาเหตุ
ทางอ้อมเกิดจากการที่มนุษย์มีความต้องการสินค้าและการบริการ
เพิ่มขึ้น จึงมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น เช่น การใช้น�้ำเพื่อ
อุปโภคและบริโภค การจับปลาในบริเวณทะเลหลวง (High seas)
และการใช้สอยป่าไม้ ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ท�ำให้ระบบนิเวศนั้นเสียสมดุลในที่สุด
2. ผลกระทบจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถ
ส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น มนุษย์จะได้รับสารพิษจากสาร
ก�ำจัดศัตรูพืช ท�ำให้เป็นโรคเรื้อรังและเสียชีวิต ระบบนิเวศน�้ำจืด
ที่เสื่อมโทรมอาจท�ำให้โรคท้องร่วงระบาด ระบบนิเวศที่เสียสมดุล
จะท�ำให้เกิดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อ
สิ่งมีชีวิต
ในการประชุมองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย รวม
189 ประเทศ มีความเห็นพ้องกันที่จะลดผลกระทบจากการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจ�ำกัด จึงร่วมกันตั้งเป้าหมาย
ของการพัฒนาในระดับชาติและระดับสากล ที่ทุกประเทศควร
ด�ำเนินการร่วมกันภายใน พ.ศ. 2558 เป้าหมายดังกล่าว เรียกว่า
“เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MillenniumDevelopment
Goals : MDGs)”
ซึ่งประกอบด้วย 8 เป้าหมายหลัก ทั้งนี้ เพื่อให้
เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนา องค์การสหประชาติได้ก�ำหนด
เป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่ โดยอาศัยกรอบความคิดเรื่องการ
พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน