Table of Contents Table of Contents
Previous Page  22 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 22 / 62 Next Page
Page Background

22

นิตยสาร สสวท

ภาพ 2

ส่วนสว่างของดวงจันทร์ ณ ต�ำแหน่งต่างๆ ขณะโคจรรอบโลก ภาพดวงจันทร์

ที่อยู่วงนอก เป็นภาพที่ผู้สังเกตบนโลกเห็น

ดิถีของดวงจันทร์หรือปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ดวงจันทร์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์

และโคจรรอบโลก ท�ำให้คนบนโลกเห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์แตกต่างกันไปในแต่ละคืน โดยดวงจันทร์

ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน การที่เราสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง แล้วส่วนสว่าง

ค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งมืดทั้งดวง เรียกช่วงดังกล่าวว่า

ข้างแรม (Waning)

วันที่ดวงจันทร์มืดทั้งดวง เรียกวันแรม 15 ค�่ำ

หรือ

จันทร์ดับ (New moon)

ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นดวงจันทร์จะค่อยๆ

สว่างจนเต็มดวงอีกครั้ง เรียกช่วงนี้ว่า

ข้างขึ้น (Waxing)

โดยให้วันที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวงเป็นวันขึ้น 15 ค�่ำ

หรือเรียกว่า

จันทร์เพ็ญ (Full moon)

ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนวันที่ดวงจันทร์

เคลื่อนที่ท�ำมุมฉากกับโลกและดวงอาทิตย์ จะท�ำให้เราเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง เรียกวันแรม 8 ค�่ำ หรือวันขึ้น 8 ค�่ำ

สังเกตได้ว่า ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบที่ซ�้ำกันเป็นช่วงๆ โดยแต่ละช่วง

ใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน ตามระยะเวลาการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ หากเริ่มสังเกตจากวันแรม 15 ค�่ำ ซึ่งเป็นวันที่เรา

ไม่สามารถเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ วันต่อมาจะเป็นวันขึ้น 1 ค�่ำ และต่อมาจะเป็นวันขึ้น 2 ค�่ำ ไปเรื่อยๆ โดยส่วนสว่าง

ของดวงจันทร์ที่มองเห็นได้ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน จนถึงวันขึ้น 15 ค�่ำ ซึ่งเป็นวันที่เราเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง

ต่อจากนั้นวันต่อมาจะเป็นวันแรม 1 ค�่ำ และวันแรม 2 ค�่ำ ไปเรื่อยๆ โดยส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นได้จะลดลงไป

เรื่อยๆ ในแต่ละวัน จนถึงวันแรม 15 ค�่ำ

ขึ้น 7-8 ค�่ำ

แรม 7-8 ค�่ำ

ขึ้น 15 ค�่ำ

แรม 15 ค�่ำ

แสงอาทิตย์

ดิถีของดวงจันทร์ (Phases of the moon)