Table of Contents Table of Contents
Previous Page  18 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 18 / 62 Next Page
Page Background

18

นิตยสาร สสวท

ตัวอย่างการป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

บุคคลหรือกลุ่มคนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดูแลรักษาระบบนิเวศ

Forest Certification for Ecosystem Services

(ForCES)

เป็นโครงการหนึ่งที่มีการออกใบรับรองแหล่งก�ำเนิด

ป่าไม้ที่มีการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และมนุษย์ได้

รับประโยชน์จากการบริหารจัดการพื้นที่ป่านั้นอย่างแท้จริง

โดยผู้ที่ท�ำหน้าที่ในการออกใบรับรองคือ Forest Stewardship

Council (FSC) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่เกิดจากการรวมตัวของ

องค์กรสิ่งแวดล้อม นักวิชาการป่าไม้ ผู้ค้าไม้ องค์กรชุมชน

ท้องถิ่น สมาคมป่าชุมชนและสถาบันรับประกันผลผลิตป่า

ไม้ ท�ำหน้าที่รับประกันองค์กรหรือหน่วยงานที่มีการจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ท�ำให้

เกิดความสมดุลทางระบบนิเวศ มีผลดีและเป็นประโยชน์ต่อ

สังคม ชุมชนในท้องถิ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึง

ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่า

โครงการ ForCES ก�ำลังอยู่ในขั้นด�ำเนินการและ

น�ำร่องใน 9 พื้นที่ในประเทศชิลี อินโดนีเซีย เนปาล และ

เวียดนาม โดยมีเป้าหมายดังนี้

1. พื้นที่กลุ่มอุตสาหกรรม พื้นที่เพาะปลูกและ

เจ้าของที่ดินรายย่อย มีการเสนอนโยบายที่เป็นแรงจูงใจ

ในการแสดงความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้

2. มนุษย์จะได้รับผลประโยชน์จากระบบนิเวศ

อย่างแท้จริง เช่น

2.1 ธรรมชาติของน�้ำและป่าไม้ (water

and forests) ในการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป้องกัน

การกัดเซาะของดิน แหล่งดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ

2.2 พื้นที่ชุ่มน�้ำ (wetlands) ช่วยปรับปรุง

คุณภาพของน�้ำและป้องกันการเกิดน�้ำท่วม

2.3 แนวปะการัง (coral reefs) จะช่วยลด

ความเร็วและความแรงของกระแสน�้ำที่ปะทะชายฝั่ง จึงช่วย

ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้าง

ตามแนวชายฝั่ง

แนวทางปฏิบัติการอนุรักษ์ทรัพยากร

และสิ่งแวดล้อม

ความท้าทายในการดูแลรักษาทรัพยากร

และสิ่งแวดล้อม

1.

การท�ำให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็น

ปัจจัยหนึ่งที่มีความส�ำคัญ (mainstreaming of

biodiversity) ในการดูแลรักษา

2.

เพิ่มแนวทางการด�ำเนินงานแบบบูรณาการตาม

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

3.

เพิ่มนโยบายการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง

ชีวภาพและบริการระบบนิเวศในกรอบการด�ำเนินงาน

แห่งชาติ เพื่อน�ำไปสู่การขจัดความยากจนและ

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการ

พัฒนาอย่างยั่งยืน

4.

เพิ่มความตระหนักของการมีส่วนร่วมในการ

อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

1.

แม้จะมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่ประชากรใน

ทวีปเอเชียก็ยังคงยากจนอยู่ประมาณ 8 พันล้านคน

2.

เป็นที่คาดว่าประชากรในเมืองจะเติบโตจาก 1.9

พันล้านคนเป็น 3.3 พันล้านคนในปี พ.ศ. 2593

3.

ประเทศที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุด 10 อันดับแรก

ของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

4.

ทวีปเอเชียก�ำลังจะเป็นแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจก

ที่ส�ำคัญ และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศมากที่สุด