

การประดิษฐ์ การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยีอย่างใดอย่าง
หนึ่งขึ้นมาหรือการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีทีี่มีประสิทธิภาพ
และมีความแข็งแรงทนทาน นอกจากความรู้เกี่ยวกับรูปร่าง รูป
ทรงที่มีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างแล้ว ยังต้องมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยอื่น เช่น การเลือกใช้วัสดุที่นำ
�มาใช้
สร้างอย่างเหมาะสม การเช่ื่อมต่อระหว่างชิ้นส่วนภายใน
โครงสร้าง รวมถึงขนาดของโครงสร้างที่จะส่งผลต่อน้ำ
�หนักของ
โครงสร้างเองอีกด้วย
ลำ
�ดับต่อไปจะขอนำ
�เสนอกิจกรรมการเรียนรู้เพ่ื่อให้นักเรียน
เข้าใจเรื่องโครงสร้าง รูปร่างรูปทรงที่มีผลต่อความแข็งแรงของ
โครงสร้าง การเชื่อมต่อระหว่างชิ้นส่วนภายในโครงสร้างและ
ขนาดของโครงสร้าง ผ่านการออกแบบโดยสร้างโครงสร้างจาก
ไม้จิ้มฟันตามกระบวนการเทคโนโลยี
ตัวอย่างกิจกรรมระดับประถมศึกษาตอนปลาย
เรื่อง ไม้จิ้มฟันทรงพลัง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) อธิบายหน้าที่ของโครงสร้างและรูปร่างรูปทรงที่ทำ
�ให้
โครงสร้างมีความแข็งแรงได้
2) สร้างโครงสร้างที่สามารถรับน้ำ
�หนักของหนังสือตาม
กระบวนการเทคโนโลยีได้
สาระการเรียนรู้
ความหมายและหน้าที่ของโครงสร้าง และรูปร่างรูปทรงกับ
ความแข็งแรงของโครงสร้าง
สื่อและอุปกรณ์
1) ชุดที่1 ได้แก่ กระดาษแข็ง ขนาด A4 เทปใส ไม้บรรทัด
2) ชุดที่ 2 ได้แก่ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำ
�มัน เทปใส ไม้บรรทัด
3) หนังสือสำ
�หรับทดสอบโครงสร้าง
4) นาฬิกาเพื่อจับเวลา
5) รูปภาพโครงสร้างแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพโครงสร้าง
สนามบินสุวรรณภูมิ
กิจกรรมการเรียนรู้
1. นำ
�เข้าสู่บทเรียนโดยกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยเกี่ยวกับ
โครงสร้าง และอภิปรายจากรูปภาพ เช่น สิ่งก่อสร้างสามารถตั้ง
คงอยู่ ทนทานต่อลม ฝน พายุ ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว โดยไม่
พังทลายได้อย่างไร รูปร่างรูปทรงที่ปรากฏบนสิ่งก่อสร้างมีอะไร
บ้าง และรูปร่างรูปทรงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งก่อสร้างอย่างไร
2. ทดลองเพื่อหาคำ
�ตอบเกี่ยวกับความแข็งแรงของรูปร่าง
รูปทรงสามารถรับน้ำ
�หนักสิ่งก่อสร้างอย่างไร โดยครูเตรียมวัสดุ
และอุปกรณ์ชุดที่ 1 นักเรียนออกแบบการทดลองโดยประยุกต์ใช้
ความรู้เรื่องการวัด รูปเรขาคณิต เพื่อพับกระดาษแข็งให้เป็นรูป
ครึ่งวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม แล้วทดสอบความแข็ง
แรงด้วยการวางหนังสือทับโครงสร้างที่พับจากกระดาษแข็ง
3. ร่วมกันอภิปรายผลการทดลองเกี่ยวกับความแข็งแรงของ
รูปชนิดต่าง ๆ และสรุปผลร่วมกัน โดยครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
การรับน้ำ
�หนักและการกระจายแรงของรูปร่างรูปทรงแบบต่าง ๆ
และสรุปเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างรูปทรงกับ
โครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างโครงสร้าง
ที่พบเห็นทั่วไป เช่น สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โครงสร้างที่พบเห็นภายใน
บ้านและโรงเรียน เช่น โต๊ะและเก้าอี้ ชั้นวางหนังสือ ประตู รั้ว
รวมทั้งโครงสร้างที่ปรากฏในธรรมชาติ เช่น โครงสร้างของใบไม้
(ที่มา : http://www.
goholidaynow.
com/?p=348)
นิตยสาร สสวท.
16