Previous Page  59 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 59 / 62 Next Page
Page Background

แรกๆนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่เข้าใจจนศึกษาพบว่ามันเป็น

กลไกในการป้องกันตัวของพืชที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเป็น

ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษของ ค.ศ. 1980 สารแทนนินที่

เพิ่มมากมายนี้จะไปลดความสามารถในการย่อยของแบคทีเรีย

ในกระเพาะอาหาร และความสามารถในการย่อยของสัตว์กิน

พืชเอง นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่า พืชแต่ละต้นจะสร้างแก๊ส

เอทิลีนขึ้นมาเพื่อสื่อสารให้พืชต้นใกล้เคียง รับรู้ว่ามีอันตราย

แล้วเพื่อน จากนั้นพืชต้นข้างเคียง ก็จะเร่งสร้างแทนนินขึ้นมา

ฆ่าสัตว์ที่จะมากัดกินใบซะ สารคดีนี้นำ

�เสนอด้วยภาพที่ทำ

�ให้

สามารถเข้าใจได้ง่ายเลยทีเดียวต่อมาก็มีการนำ

�เสนอการทดลอง

เกี่ยวกับการตอบสนองของพืช ในรัสเซีย เยอรมัน ไทย และญี่ปุ่น

มีการทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชที่มีต่อเสียงแคน

ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของไทย ที่เรียกว่าการเต้นของพืช

มีการทดลองเพื่อศึกษาระบบประสาทของพืช การนอนหลับของพืช

และความจำ

�ของพืชตระกูลถั่ว

นักวิทยาศาสตร์สนุกเพลิดเพลินไปกับความพยายาม

จะหาคำ

�อธิบายทฤษฎีที่เรียกว่า Root-Brain Theory ซึ่ง

เชื่อกันตั้งแต่สมัยของชาร์ล ดาร์วิน และ ฟรานซิส ดาร์วิน

ผู้เป็นลูกชาย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://www.ncbi.nlm.nih

.

gov/pmc/articles/PMC2819436/ เรื่อง The ‘root-brain’

hypothesis of Charles and Francis Darwin) ว่ารากพืช

ทำ

�หน้าที่เหมือนกับสมองของสัตว์ ต่อมาจึงมีการศึกษาค้นพบ

ว่า พืชมีโปรตีน myosin และ actin ที่ทำ

�หน้าที่เกี่ยวข้องกับ

การทำ

�งานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของสัตว์ จึงคาดว่า

จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างเซลล์ของพืช

อย่างแน่นอน แต่จะในรูปแบบใดนั้น นั่นคือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์

จะต้องหาวิธีพิสูจน์ให้เห็น ให้เข้าใจ จึงจะได้รับการยอมรับ

ด้วย ต่ายมั่นใจว่า คงอีกไม่นานเกินรอ ที่ "ความรู้เกี่ยวกับระบบ

ประสาทของพืช" จะถูกเปิดเผยออกมา ซึ่งคงจะอยู่ในรูปแบบที่

แตกต่างไปจากสัตว์มากมาย มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำ

�หรับ

คนอยากรู้อยากเห็นอย่างต่ายและชาวโลกเลยทีเดียว

เฉลยคำ

�ถามฉบับที่186

ต่ายถามสั้นๆว่าทำ

�ไม

คนที่นี่เขาเอาต้นไม้แห้ง ๆ มาหุ้มเฉพาะที่

โคนต้นซากุระในฤดูหนาว ^_^ คำ

�ตอบก็

คือ เขาทำ

�ไว้สำ

�หรับเป็นที่ที่ให้แมลงที่เป็น

ศัตรูต้นซากุระ ใช้เป็นที่อาศัยหลบอากาศ

หนาวเย็น จะได้ไม่ต้องไปหาที่อาศัยอื่น

ให้วุ่นวาย จากนั้นเมื่ออากาศเริ่มอบอุ่นขึ้น

ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาลอกส่วนที่เป็นต้นไม้แห้ง ๆ นี้ออก เมื่อ

ลอกออกมาก็จะพบแมลงมากมาย ซึ่งทำ

�ให้ง่ายต่อการนำ

�ไป

เผาทำ

�ลายซะ เท่านั้นเอง ก็จะไม่มีแมลงมากัดกินดอกซากุระ

ให้หมดความสวยงาม ^_^ เป็นวิธีการที่แยบยลเลยทีเดียว

ต่ายชอบมากเลย - สำ

�หรับฉบับนี้ไม่มีจดหมายผู้ตอบคำ

�ถาม

ต่ายเข้ามาเลย โอ้ว....ต่ายเสียใจจริง ๆ

คำ

�ถามฉบับที่ 188

ต่ายขอถามคำ

�ถามจากในสารคดี

ที่ต่ายแนะนำ

�คุณ ๆ ไป โดยถามว่า จากเรื่องราวที่ถ่ายทอด

ผ่านสารคดีนั้น มหาวิทยาลัยอะไรในเยอรมนี ที่สนใจและมี

ความเชี่ยวชาญมากในการศึกษาเรื่องความฉลาดของพืช

(Plant Intelligence) คุณ ๆ จะทราบคำ

�ตอบก็ต่อเมื่อคุณ ๆ

ได้ดูสารคดีของต่ายแล้ว (อิอิ) เมื่อได้คำ

�ตอบแล้ว ส่งคำ

ตอบมาหาต่ายได้ที่

funny_rabbit@live.co.uk

ภายในวัน

ที่ 1 กันยายน 2557 โดยต้องใส่ชื่อและที่อยู่เพื่อจะจัดส่ง

รางวัลของคุณ ๆ ที่ตอบถูก ถ้าคุณ ๆ ไม่ใส่ที่อยู่มาให้ ต่ายก็

จะไม่สามารถส่งอะไรไปให้คุณ ๆ ได้เลย ต่ายรบกวนคุณ ๆ

ช่วยบอกชื่อโรงเรียนของคุณ หรือโรงเรียนที่คุณอยากให้ต่าย

ส่ง CD ต่าง ๆ ของ สสวท. ที่โรงเรียนสามารถนำ

�ไปใช้ในการ

เรียนการสอนได้ แม้โรงเรียนจะไม่มีอินเทอร์เน็ตที่ไว ๆ ต่าย

จะได้ส่ง CD ไปให้โรงเรียนได้ นอกเหนือจากของรางวัลที่คุณ ๆ

จะได้รับ สำ

�หรับเฉลยอ่านได้ในฉบับที่ 190 จ้า

การคิดนอกกรอบและการเรียนรู้ จะนำ

�ไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่เสมอ

ต่าย แสนซน

ปีที่ 42 ฉบับที่ 188 พฤษภาคม - มิถุนายน 2557

59