

56
นิตยสาร สสวท.
สะเต็มศึกษา (STEM Education) ตามแนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและวิศวกรรม
เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ได้ใช้ชื่อหัวเรื่องว่า Technology and Engineering Bring STEM to Life ดังนั้นจึงได้มีการกล่าวถึง
แนวคิดของค�
ำว่าสะเต็มตามแนวทางของนักการศึกษาด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม โดยสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาตามรูปแบบ
สะเต็มศึกษาของสมาคมนักการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมพบว่าไม่ได้มีรูปแบบหรือแนวทางที่จ�
ำกัดตายตัวแต่มีเป้าหมายหลัก
คือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ที่บูรณาการ ให้เชื่อมโยงกับ
ชีวิตจริง มุ่งเน้นการแก้ปัญหา การออกแบบผ่านกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ แต่มีแนวคิดหลัก ๆ คือ
1) ก�
ำหนดปัญหาหรือความต้องการ 2) ศึกษาแนวทางแก้ปัญหา 3) ออกแบบและลงมือปฏิบัติ และ 4) ประเมินผล แล้วจึงน�
ำเสนอ
ผลงาน และนอกจากนี้สะเต็มศึกษานั้นมุ่งฝึกทักษะส�
ำคัญในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสร้างก�
ำลังคนด้านสะเต็ม หรือที่เรียกว่า
STEM workforce นั่นเอง โดยการจัดการเรียนรู้ของแต่ละโรงเรียนจะมีแนวทางที่แตกต่างกันไป เช่น บางโรงเรียนจัดแยกสอนรายวิชา
พื้นฐานปกติ แต่เน้นการบูรณาการและการท�
ำกิจกรรมแก้ปัญหาและการออกแบบมากขึ้น หรือบางโรงเรียนจัดกิจกรรมเป็นลักษณะ
ชุมนุมหรือวิชาเพิ่มเติมในขณะที่บางโรงเรียนจะน�
ำเอาแนวคิดกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมเข้าไปผนวกใช้กับทุกวิชา
เช่น โรงเรียน Laing Middle School of Science and Technology จากรัฐ South Carolina นอกจากนี้อาจเป็นกิจกรรม
เสริม ค่าย หรือสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยีปกติ ก็ได้
สัญลักษณ์สมาคม Engineering byDesign
บรรณานุกรม
International Technology and Engineering Educators
Association. (2001). สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2557,
จาก
http://www.iteea.org/เนื้อหาของหลักสูตรแต่ละส่วนจะมีระดับความลุ่มลึกของเนื้อหา
ต่างกันไปตามระดับชั้นของผู้เรียนแต่จะมีความเกี่ยวเนื่องกัน
โดยผู้สนใจเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรสามารถสืบค้นได้เพิ่มเติมที่
เว็บไซต์ของสมาคม คือ
http://www.iteea.org/EbD/ebd.htm