

ปีที่ 42 ฉบับที่ 189 กรกฎาคม - สิงหาคม 2557
59
สวัสดีคุณ ๆ ที่รักของต่ายกับฤดูฝนอันแสนจะชื่นฉ�่
ำ เฉอะแฉะ ส�
ำหรับคนเมืองฤดูนี้อาจจะไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจท่านนัก เพราะเป็นอุปสรรค
กับการเดินทาง ส�
ำหรับคนที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม สายฝนอันชุ่มฉ�่
ำและเฉอะแฉะแบบพอดิบพอดีนั้นเปรียบได้ดั่งสายน�้
ำแห่งสรวงสวรรค์ที่
โปรยปรายลงมา ท�
ำให้พืชผลทางการเกษตรเจริญเติบโตและงอกงาม ออกดอกออกผลให้ได้เก็บกินเก็บขายเพื่อด�
ำรงชีพได้ เอาล่ะ มาเข้าเรื่อง
ที่ต่ายน�
ำมาฝากกันดีกว่า วันนี้ต่ายขอชูประเด็นเรื่องของสาหร่ายกับพลังงานชีวภาพ
วันหนึ่งในขณะที่ต่ายก�
ำลังนั่งดูวิวอยู่ริมฝั่งประเทศไอร์แลนด์เหนือ
เพื่อนต่ายชี้ชวนให้ดูเรือขนสาหร่ายที่ก�
ำลังจะเข้าสู่ท่าเรือ ต่ายเชื่อว่า
หลายคนทราบดีว่าประโยชน์ของสาหร่ายนั้นมีมากมายนัก หลัก ๆ คือ
ใช้เป็นอาหาร แต่การใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ยังน้อยนักเมื่อเทียบกับ
สัดส่วนการน�
ำมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหาร ในภาคอุตสาหกรรม
ยังมีการสกัดสารต่าง ๆ ออกมาใช้ในการท�
ำปุ๋ย (ประเด็นนี้ต่ายก็เพิ่งรู้
จากการค้นหาข้อมูลมาเล่าให้คุณ ๆ ฟังเหมือนกัน) สกัดสารที่
ใช้เป็นสารเพิ่มความเหนียวหนืดในยาสีฟัน ครีม เครื่องส�
ำอาง
สีทาบ้าน และอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
มนุษย์เรายังใช้ประโยชน์จากสาหร่ายทะเลไม่คุ้มค่าเลย โดยเฉพาะ
สรรพคุณทางยา ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อและมั่นใจด้วยว่าสาหร่าย
แต่ละชนิดก็จะมีสารที่สามารถใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ได้
แตกต่างกันไป ไม่ต่างอะไรกับพืชสมุนไพรที่คุณ ๆ คุ้นเคยกันดี
ว่าต้นนี่รักษาโรคนั่น ต้นนั้นรักษาโรคโน้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกก็คือ ในการพัฒนาการใช้
ประโยชน์ของสาหร่ายในระดับอุตสาหกรรมก�
ำลังมีการศึกษาการน�
ำ
สาหร่ายทะเลมาใช้เป็นวัสดุที่ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน และการน�
ำมา
ใช้ประโยชน์ในด้านพลังงานสะอาด ทดแทนน�้
ำมันและถ่านหิน
ที่ก�
ำลังจะหมดไปจากโลกใบนี้ ทั้งสองตัวอย่างนี้มีลักษณะที่คล้ายกัน
คือการน�
ำสาหร่ายมาใช้นั่นเอง เรื่องที่น่าสนใจส�
ำหรับต่ายก็คือ
การน�
ำสาหร่ายมาใช้ในการสร้างพลังงาน ซึ่งต่ายยอมรับว่า
ต่ายคิดไม่ถึงจริง ๆ นักวิทยาศาสตร์ได้คิดจากหลักการง่าย ๆ ที่
เคยเรียนตั้งแต่ประถมหรือมัธยมต้น หลักการที่ว่าก็คือ นัก
วิทยาศาสตร์พบว่า
"มากกว่าครึ่งของมวลชีวภาพ (คิดจาก
สาหร่ายแห้งนะจ๊ะ) เป็นสารประกอบกลุ่มคาร์โบไฮเดรต"
ดังนั้น
ในขั้นตอนการผลิต นักวิทยาศาสตร์จึงใช้เอนไซม์มาช่วยในการ
เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน�้
ำตาล จากนั้นก็ใช้กระบวนการหมัก
โดยจุลินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนน�้
ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ได้
และสุดท้ายก็สกัดเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ออกมาใช้เป็นพลังงาน
ที่มีชื่อรวม ๆ ว่า เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel)
แป้ง -------------------> น�้
ำตาล ------------------------> เอทานอล
เอนไซม์ จุลินทรีย์