Previous Page  52 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 52 / 62 Next Page
Page Background

52

นิตยสาร สสวท.

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จันทรา ต่อต้าน Hitler มาก

เขาจึงเข้าร่วมทำ

�งานผลิตระเบิดปรมาณูในโครงการ Manhattan

แต่มีปัญหาเรื่องการเหยียดผิวทำ

�ให้ทำ

�งานได้ไม่เต็มที่ ในที่สุด

จันทราก็ได้แปลงสัญชาติเป็นคนอเมริกันในปี ค.ศ. 1953 เหตุการณ์นี้

ทำ

�ให้บิดาของจันทรา ไม่สบายใจเลย เพราะต้องการให้บุตรชาย

กลับไปทำ

�งานที่อินเดียเหมือนน้าชายC.V.Kamanซึ่งเป็นชาวอินเดีย

คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำ

�ปี ค.ศ. 1930

และ S. N. Bose กับ Meghnad Saha ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชาวอินเดีย

ผู้มีชื่อเสียงและทำ

�งานในอินเดีย แต่ใจของจันทราผูกพันกับอเมริกา

เพราะชอบบรรยากาศทำ

�งานที่นั่นมากกว่า

นอกจากจะต้องสอนหนังสือและทำ

�งานวิจัยแล้วจันทรายังช่วย

จัดตั้งให้มีการออกวารสาร Astrophysical Journal ของอเมริกาด้วย

โดยได้รับการสนับสนุน จากสมาคม American Astronomical

Society และมหาวิทยาลัย Chicago และจันทราได้ทุ่มเททำ

�หน้าที่

บรรณาธิการของวารสารนี้เป็นเวลา 19 ปี จนได้การยอมรับว่า

เป็นวารสารระดับสุดยอดของโลกในด้าน ดาราศาสตร์ฟิสิกส์

จันทรา ได้รางวัลของ Royal Astronomical Society ในปี

ค.ศ. 1944 ได้รับเลือกเป็น F. R. S. ของสมาคม Royal Society

ซึ่งเป็นเวลาไม่นานหลังจากที่ Eddington เสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1953

ได้รับ Gold Medal ของสมาคม Royal Astronomical Society

ปี ค.ศ. 1955 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ National Academy

of Sciences ปี ค.ศ. 1966 ได้รับเหรียญ National Medal of

Sciences ของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 1983 ได้รับรางวัล

โนเบลสาขาฟิสิกส์จาก Royal Swedish Academy

ในด้านชีวิตส่วนตัว จันทราพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม

และดีกว่าคนอังกฤษทั่วไปเสียอีก เขาสนใจและใส่ใจในความสำ

�เร็จ

ของศิษย์ทุกคน เป็นคนที่มีความจำ

�ดีเยี่ยม สามารถเล่าเหตุการณ์

ต่าง ๆ ได้อย่างมีชีวิตชีวา พร้อมรายละเอียดอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้ง ๆ ที่

เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นนานมากแล้ว จันทรามักให้เวลาแก่นิสิต

เพื่อปรึกษาปัญหาอย่างเต็มที่และเต็มใจ การทุ่มเทการสอนนี้

นับเป็นตำ

�นานของจันทราเมื่อเขาต้องขับรถจากหอดูดาวYerkes

ไปมหาวิทยาลัย Chicago ทุกสัปดาห์ เป็นระยะทางหลายร้อย

กิโลเมตร เพื่อสอนนิสิตเพียง 2 คน ชื่อ Lee กับ Yang

จันทราศรัทธาและยกย่อง Newton มาก เขาคิดว่า Newton

เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติมนุษยชาติ และถ้าใคร

จะเปรียบ Newton กับปราชญ์หรืออัจฉริยะคนอื่น ๆ เขาก็ต้อง

แสวงหาจากสาขาอื่น เช่น Michelangelo หรือ Beethoven

ในขณะเดียวกัน นักฟิสิกส์รุ่นหลังก็ยกย่องจันทรามาก เพราะเขาคือ

แรงบันดาลใจให้หนุ่มสาวชาวอินเดีย และคนชาติอื่นได้เจริญรอยตาม

เมื่อจันทราเสียชีวิต เขามีอายุ 85 ปี

บรรณานุกรม

Wali, Kameshwar C. (1991).

Chandra: A Biography of S.

Chandrasekhar.

USA: University of Chicago Press.

รูปที่ 3

(ที่มา:

http://summer-astronomy-pc.wikispaces.com/

Subrahmanyan+Chandrasekhar)