Previous Page  50 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 50 / 62 Next Page
Page Background

50

นิตยสาร สสวท.

จันทราสำ

�เร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและ

สอบได้เป็นที่หนึ่งของรุ่นใน ค.ศ. 1928 ขณะที่เรียนในระดับปริญญาตรี

จันทรา ก็มีผลงานวิจัย เรื่อง “Compton Scattering and

the New Statistics” ซึ่งต้องใช้สถิติแบบ Fermi ในการอธิบาย

และได้ลงพิมพ์ในวารสารชั้นนำ

�ของโลกชื่อ Proceedings of the

Royal Society ต่อมาจันทราสนใจโครงสร้างของดาวแคระขาว

(whitedwarfstar)ซึ่งใช้แนวคิดของRalphH. Fowlerการพิมพ์

ผลงานนี้ทำ

�ให้ Fowler รู้สึกชื่นชมและประทับใจมากจึงรับ

จันทราไปทำ

�งานวิจัยฟิสิกส์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย

Cambridge ประเทศอังกฤษ

จันทราออกเดินทางจาก Bombay โดยทางเรือเมื่อวันที่

31 กรกฎาคม ค.ศ.1930 เพื่อเข้าเรียนที่ Trinity College

แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ขณะเดินทางด้วยเรือซึ่งต้องใช้เวลา

นานหลายเดือน จันทราได้ครุ่นคิดเรื่องโครงสร้างของดาวแคระขาว

เมื่อเขาตระหนักว่าที่อุณหภูมิสูงมาก อิเล็กตรอนในดาวแคระขาว

จะมีความเร็วสูง จนน่าจะต้องนำ

�ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของ

Einstein มาอธิบาย ดังนั้น เขาจึงผสมผสานความรู้นี้กับทฤษฎี

ควอนตัมสถิติ ทำ

�ให้จันทราพบว่า ดาวแคระขาวในธรรมชาติ

มีมวลจำ

�กัด คือ จะต้องไม่เกิน 1.45 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์

และถ้าดาวฤกษ์ใดมีมวลมากกว่านั้น ดาวนั้นจะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา

(supernova) เมื่อคำ

�นวณเสร็จก็ได้ส่งผลงานเพื่อลงพิมพ์ในวารสาร

ของสมาคม Royal Society แต่ Sir Arthur Eddington ซึ่งเป็น

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดาวแคระขาวไม่เห็นด้วยกับคำ

�สรุปในทฤษฎี

ของจันทรา ผลงานจึงไม่ผ่านการประเมิน แต่จันทราก็ได้ทดลอง

ส่งผลงานที่ถูกปฏิเสธนี้ไปลงพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal

ของอเมริกา ซึ่งบรรณาธิการก็ได้ตอบรับและเผยแพร่ผลงาน

จันทราสำ

�เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ปี ค.ศ. 1933 และ

ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ Trinity College ซึ่งเป็นตำ

�แหน่งที่มี

เกียรติมาก

จันทรายังทำ

�งานวิจัยเรื่องดาวแคระขาวต่อไปผลการคำ

�นวณ

อย่างละเอียดและสมบูรณ์กว่าเดิมในเวลาต่อมายังยืนยัน

อย่างแม่นมั่นว่า ดาวแคระขาวต้องมีมวลไม่เกิน 1.45 เท่าของมวล

ดวงอาทิตย์ จึงจะคงสภาพอยู่ ได้ ผลงานนี้ทำ

�ให้จันทรา

วัย 25 ปีได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่ องนี้ที่สมาคม Royal

Astronomical Society เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1935

เมื่ อจบการบรรยาย Eddington นักดาราศาสตร์ผู้ มี

ชื่อเสียงโด่งดังจากการตรวจสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

ของ Einstein ว่าถูกต้อง ได้ลุกขึ้นยืน แล้วกล่าวโจมตี

ทฤษฎีของจันทราอย่างไม่ไว้หน้าและรุนแรงว่าเป็นเรื่อง

เหลวไหลและเป็นไปไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่าเมื่อดาวฤกษ์ใช้

เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มีในตัวมันจนหมดแล้วก็จบกัน นั่นคือ

ดาวแคระขาวไม่มีขีดจำ

�กัดด้านมวลและจะไม่มีวันระเบิด

เพราะกฎฟิสิกส์จะบังคับไม่ให้ธรรมชาติเป็นไปตามที่จันทราทำ

�นาย

การถูกเหยียดหยามว่าอ่อนหัดและรู้ไม่จริงกลางที่ประชุม

โดย “ศาสดา” ด้านดาราศาสตร์ในครั้งนั้น ทำ

�ให้วิถีชีวิตและจิตใจ

ของจันทราเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เขาตัดสินใจย้ายที่ทำ

�งานจาก

อังกฤษไปอเมริกาทันที ทั้ง ๆ ที่ Cambridge มีบุคคลอัจฉริยะ

เช่น J. Chadwick ผู้พบนิวตรอน, P. A. M. Dirac ผู้สร้างทฤษฎี

QuantumElectrodynamicsและP.Kapitzaผู้พบของไหลยวดยิ่ง

แต่ไม่มีใครต้านทานบารมีของ Eddington ได้ จันทราจึงสมัครไป

ทำ

�งานที่มหาวิทยาลัย Chicago ในอเมริกา

แต่ในเวลาเดียวกันจิตใจของจันทราก็ไม่ยอมแพ้ Eddington

เขาตัดสินใจนำ

�ความคิดและทฤษฎีของเขาเสนอต่อ Niels Bohr

และWolfgangPauli ซึ่งก็เห็นด้วยกับจันทราว่า Eddingtonคิดผิด

และจันทราคำ

�นวณถูก นั่นคือ ในขั้นตอนวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

ขณะดาวฤกษ์เผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในตัวด้วยปฏิกิริยาฟิวชัน

แรงดันของรังสีจากภายในจะทำ

�ให้ดาวมีขนาดใหญ่ขึ้น จนดาวอาจมี

รัศมี 100 เท่าของรัศมีเดิม และในขณะนั้นไอออนไฮโดรเจน

ที่ผิวของดาวจะถูกความดันรังสีผลักดันออกจากดาว ทำ

�ให้

ดาวฤกษ์สูญเสียมวลไปทีละน้อย ๆ ทฤษฎีของจันทราแสดงให้เห็นว่า

ดาวฤกษ์ที่มีมวลไม่เกิน 8 เท่า ของดวงอาทิตย์จะสูญเสียมวล

ในลักษณะนี้และจะสูญเสียมวลไปเรื่อย ๆ จนมวลลดลงถึง 1.45 เท่า

ของดวงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบันรู้จักในนาม

ขีดจำ

�กัดจันทรเสขร

(Chandrasekhar limit)

ส่วนดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 8 เท่าของดวงอาทิตย ์ปฏิกิริยา

นิวเคลียร์ในบริเวณแก่นกลางของดาวจะดำ

�เนินไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง

ไฮโดรเจนถูกหลอมรวมเป็นเหล็ก และเมื่อเชื้อเพลิงหมด ปฏิกิริยา

นิวเคลียร์ฟิวชันบนดาวจะหยุด แกนกลางของดาวที่เป็นเหล็ก

ก็จะมีมวลมากจนมีค่า 1.45 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จากนั้น

แรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวจะทำ

�ให้แกนกลางยุบตัว จนโปรตอน

กับอิเล็กตรอนในดาวรวมตัวเป็นนิวตรอน นั่นคือ ดาวทั้งดวง

เป็นดาวนิวตรอน และเนื้อดาวส่วนที่เหลือจะระเบิดตัวกลาย

เป็นซูปเปอร์โนวาชนิดที่ 2 แต่ก็มีดาวแคระขาวบางดวงที่อาจได้รับ