

51
ปีที่ 42 ฉบับที่ 189 กรกฎาคม - สิงหาคม 2557
มวลจากภายนอกโดยการดึงดูดมวลของดาวฤกษ์ขนาดเล็กกว่า
ที่อยู่ใกล้ ๆ จนกระทั่งมันมีมวลเท่ากับขีดจำ
�กัดจันทรเสขร
แล้วดาวก็จะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาชนิด 1a
ทฤษฎีของจันทรานี้จึงเป็นทฤษฎีที่สำ
�คัญทฤษฎีหนึ่งของ
วิชาดาราศาสตร์ฟิสิกส์ยุคปัจจุบัน ที่ใช้อธิบายที่มาของดาวแคระขาว
ดาวนิวตรอน และซูเปอร์โนวา
ก่อนที่จันทราจะเข้ารับตำ
�แหน่งที่มหาวิทยาลัย Chicago
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 เขาได้เดินทางกลับอินเดียเพื่อแต่งงาน
กับ Lalitha เพื่อนนิสิตที่เคยเรียนด้วยกันที่ Madras แล้วกลับมา
ทำ
�งานที่อเมริกา จันทราทำ
�งานหนักมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการสอน
และการวิจัย จนในที่สุดก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์
ฟิสิกส์ในปีค.ศ.1947ในวัย37ปีตลอดชีวิตอาจารย์ จันทราได้เป็น
อาจารย์ที่ปรึกษานิสิตปริญญาเอกกว่า 50 คน และมีลูกศิษย์
สองคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้อาจารย์ ชื่อ Tsung Dao Lee
และ Chen Ning Yang ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
ประจำ
�ปี 1957 (ด้วยผลงานทฤษฎี Parity Violation ในอันตรกิริยา
อย่างอ่อน) ซึ่งเป็นเวลา 26 ปีก่อนจันทราได้รับรางวัลโนเบล
สาขาฟิสิกส์ประจำ
�ปี 1983 ร่วมกับ William Fowler ด้วยผลงาน
ด้านทฤษฎีของดาวแคระขาว
สำ
�หรับบทบาทด้านการเขียนหนังสือก็มีมากมายเพราะ จันทรา
ทำ
�งานวิจัยฟิสิกส์หลายด้าน และได้ตั้งปณิธานส่วนตัวว่าต้องเขียน
หนังสือฟิสิกส์ของเรื่องที่ทำ
� เขาจึงเขียนหนังสือหลายเล่มเช่น ในปี
ค.ศ. 1942 เขียน Principles of Stellar Dynamics ปี ค.ศ. 1950
เขียน Radiation Transfer ปี ค.ศ. 1969 เรียบเรียง Ellipsoidal
Figures of Equilibrium ปี ค.ศ. 1983 เขียนตำ
�รา Mathematical
TheoryofBlackHolesและในปีค.ศ.1987ได้เรียบเรียงหนังสือ
Principia ของ Newton สำ
�หรับให้คนทั่วไปอ่าน (คนทั่วไปในที่นี้
หมายถึง นักฟิสิกส์ที่เก่งมากจึงจะอ่านรู้เรื่อง)
รูปที่ 2 Subrahmanyan Chandrasekhar ได้รับรางวัล
the National Medal of Science จาก ประธานาธิบดี
Lyndon Johnson ในปี ค.ศ. 1967
(ที่มา:
http://summer-astronomy-pc.wikispaces.com/Subrahmanyan+Chandrasekhar)