

52
นิตยสาร สสวท
เราก็มีข้อมูลจากสถานที่ต่างๆ ในโลกมาเก็บไว้ในฐานข้อมูล
เดียวกัน เพื่อน�ำไปสู่การใช้งานร่วมกันในสังคมโลก สะเต็ม
ศึกษาก็เป็นอีกแนวทางที่ถูกน�ำมาใช้บูรณาการองค์ความรู้
เหล่านี้ เพื่อหาค�ำตอบและแก้ปัญหา
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อ�ำนวยการสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
กล่าวเสริมว่า โครงการ GLOBE เปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วโลก
ได้สังเกตตรวจวัดสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้เห็นแนวโน้มของ
การเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นการเรียนรู้ เชิงบูรณาการ
จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยอาศัย
นักวิทยาศาสตร์ ชุมชน ครู และนักเรียน ซึ่งจะร่วมกันท�ำ
โครงการวิจัยอย่างง่ายๆ เพื่อจะให้เข้าถึงและเข้าใจสิ่งเหล่านั้น
การที่นักเรียนมีโอกาสส่งข้อมูลไปแลกเปลี่ยนที่ฐานข้อมูล
ของโครงการ GLOBE ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งองค์การนาซ่า
จะประมวลผลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากพื้นที่ต่างๆ
ของโลก แล้วน�ำมาพยากรณ์แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง
สิ่งแวดล้อมในโลก
“ในส่วนของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกทั้ง
ระบบในระดับพื้นฐาน สสวท. ได้เริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่
ระดับชั้นประถมศึกษา ให้เป็นส่วนหนึ่งที่จะท�ำให้เยาวชน
รู้จักสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความรักในสิ่งแวดล้อมที่อยู่
รอบตัว ซึ่งเป็นเรื่องส�ำคัญมาก เพราะขณะนี้โลกได้
เปลี่ยนแปลงไปมาก ภาวะโลกร้อนก็ท�ำให้เกิดภัยพิบัติ
ธรรมชาติต่างๆ สิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล
และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จัดเก็บ และน�ำมาศึกษาวิจัยร่วมกัน”
รศ. ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี จากส�ำนัก
วิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็น
นักวิทยาศาสตร์และวิทยากรหลักประจ�ำโครงการ GLOBE
ได้อธิบายต่อว่า เนื่องจากโครงการ GLOBE มีวัตถุประสงค์
เพื่อให้นักเรียนทั่วโลก ท�ำงานร่วมกันในการศึกษาโลก
โดยการตรวจวัดข้อมูลต่างๆศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ
ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น Trainer หรือ วิทยากร
จึงมีความส�ำคัญมากต่อการขยายผลของโครงการนี้ให้
ครอบคลุมไปทั่วโลก เนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่สามารถ
ท�ำได้ด้วยประเทศใดเพียงประเทศเดียว หรือท�ำโดยคนเพียง
บางกลุ่ม จึงต้องมีการสร้างเครือข่ายให้ช่วยกันดูแลนักเรียน
และดูแลครูต่อไป ขณะนี้องค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของ
โลกยังมีไม่เพียงพอ ข้อมูลที่ขาดแคลนอาจท�ำให้เราพยากรณ์
ผิดพลาด และจัดการผิดพลาด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จ�ำเป็นต้อง
ใช้ความรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ
เทคโนโลยี ดังนั้นการวิจัยเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงมีความจ�ำเป็น
อย่างยิ่งที่จะช่วยให้เรามีชีวิตอยู่อย่างไม่มีปัญหา จึงเป็นที่
น่าสนใจอย่างยิ่งที่โรงเรียน และนักเรียน จะเข้ามามีส่วนร่วม
ในการท�ำงานวิจัย และโครงการ GLOBE ก็ได้เปิดช่องทางให้
นักเรียนและครูเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ
“ตอนนี้โลกเราอยู่ในสภาวะที่ภูมิอากาศไม่นิ่ง
ผมได้ยินจากชาวสวนชาวนาบ่นกันทุกคน เช่น ลงข้าว
ไปปุ๊บ น�้ำไม่มา ข้าวก็เสียหมด หรือ เรื่องน�้ำท่วม ดินถล่ม
การจัดการน�้ำ วิทยาศาสตร์โลกนั้น ไม่เหมือนวิทยาศาสตร์
สาขาอื่นๆ เพราะไม่ได้อยู่เพียงในห้องแลป หรือกับการ
ทดลอง เพียงอย่างเดียว แต่วิทยาศาสตร์โลกคือการหา
ความจริงที่มีตัวแปรเยอะมาก ถ้ าคนท�ำวิจัยน้ อย
องค์ความรู้ที่ได้ก็จะน้อย เพราะฉะนั้นโครงการนี้จึงมี
ความส�ำคัญมาก เราต้องท�ำวิจัยกันอย่างครอบคลุมตั้งแต่
ต้นน�้ำ ภูเขา จนกระทั่งถึงทะเล แม้กระทั่งในทะเลลึก
โครงการ GLOBE ก็สนับสนุนในส่วนนี้มาโดยตลอด”