Table of Contents Table of Contents
Previous Page  48 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 48 / 62 Next Page
Page Background

48

นิตยสาร สสวท

อุปการ จีระพันธุ

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สสวท.

e-mail:

ojeer@ipst.ac.th

การประชุมโต๊ะกลมด้านการศึกษา ไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7

การประชุมโต๊ะกลมด้านการศึกษา ไทย-สหรัฐฯ

ครั้งที่ 7

เป็นการประชุมเชิงวิชาการที่เน้นความส�ำคัญ

ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นโครงการ

ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทรงให้ความส�ำคัญและทรงพระกรุณาเสด็จเปิดการประชุม

ทุกครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ครั้งนี้เป็นการประชุม

ครั้งที่ 7 ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อ

เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา ภายใต้

หัวข้อ

“สะเต็มศึกษา : วัฒนธรรมการเรียนรู้ส�ำหรับคนใน

ศตวรรษที่21 (STEMEducation: LearningCulture for the 21

st

Century Workforce)

โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 26

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ อาคาร KX (Knowledge Exchange)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ)

เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย และ

ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเฝ้ารับเสด็จ

สภาการศึกษาเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการประชุม สสวท.

เป็นหนึ่งในเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมฯ โดยมีผู้อ�ำนวยการ

ผู้บริหาร และนักวิชาการ สสวท. เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้ง

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องในหัวข้อ STEM in Basic

Education 4 กลุ่มย่อย ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เมื่อวันที่

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ส�ำหรับการประชุมโต๊ะกลม

ด้านการศึกษา ไทย-สหรัฐฯ ครั้งต่อไป (ครั้งที่ 8) สหรัฐอเมริกา

จะเป็นเจ้าภาพ โดยจะจัดที่ Teachers College, Columbia

University, New York, USA.

ในการประชุมโต๊ะกลมด้านการศึกษา ไทย-สหรัฐฯ

ครั้งที่ 7 มีการอภิปรายกลุ่มโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย

ได้ แก่ 1. ก�ำลังคนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

2. สะเต็มศึกษาในสถานศึกษา และ 3. สะเต็มและการพัฒนา

ก�ำลังคนภาคการผลิต โดย สสวท. รับผิดชอบในกลุ่มที่ 2

สะเต็มศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้

- ระดับนโยบาย ภาครัฐต้องกระจายอ�ำนาจไปสู่

เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเพิ่มจ�ำนวนครูสะเต็มให้ครอบคลุม

พื้นที่ทั่วประเทศ ต้องเชื่อมโยงหลักสูตร วิธีสอน และ

การประเมินผลเข้าด้วยกัน เสริมการจูงใจ เพิ่มการวิจัยด้านสะเต็ม

เพิ่มการมีส่วนร่วมและลดช่องว่างระหว่างภาคการศึกษากับ

ภาคอุตสาหกรรม

ความเป็นมา

ผลการประชุม

รูปที่ 1

กิจกรรมกลุ่ม 2 "STEM Education in School"

นานาสาระ

และข่าวสาร