Table of Contents Table of Contents
Previous Page  53 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 53 / 62 Next Page
Page Background

53

ปีที่ 44 ฉบับที่ 201 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

ดร.ชิษณุพงศ์ ชาติอาสา ซึ่งเป็นอาจารย์ประจ�ำ

ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและเป็น

ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อเป็นวิทยากรประจ�ำโครงการ GLOBE

กล่าวว่า การที่ผมได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ผมรู้สึกตื่นเต้น

และดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้ความรู้ภาคทฤษฎีแล้ว

ยังได้ความรู้ภาคปฏิบัติด้วย และต้องลงมือจริง ท�ำจริง

วิเคราะห์จริง ท�ำให้ผมได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมจะน�ำ

ทักษะนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษา รวมถึงการอบรมครู

เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ

ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

ของประเทศไทยต่อไปครับ

อาจารย์ภาณินี วรเนติวุฒิ ครูโรงเรียนป่าพะยอม

พิทยาคม จ.พัทลุง ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อเป็นวิทยากร

ประจ�ำโครงการ GLOBE

กล่าวว่า สิ่งที่ได้คือเทคนิค และ

ทักษะในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุม

และเป็นสากล อีกทั้งถูกต้อง แม่นย�ำ เพื่อน�ำไปสอนนักเรียน

ท�ำให้ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม นักเรียนได้

เรียนรู้จากการปฏิบัติ เปรียบเสมือนได้เป็นนักวิทยาศาสตร์

ตัวน้อยๆ ท�ำให้ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมีคุณค่ามากขึ้น

นอกจากนี้สิ่งที่ได้อีกประการหนึ่งคือ GLOBE เป็นโครงการ

นานาชาติ ดังนั้นเมื่อเข้ามารับการอบรม ก็ได้พบกับครู

นักวิทยาศาสตร์ ทั้งในและต่างประเทศ เพราะฉะนั้นเราก็

จะได้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ และได้แนวคิดในการ

ท�ำงานวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก ท�ำให้ทั้งครูและนักเรียน

ได้ใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีในการสื่อสาร นอกจากนั้น

เราจะได้ Learning for Life ก็คือเรียนรู้เพื่อชีวิต และ Learning

for Global Society และเพื่อสังคมโลกทั้งหมด ซึ่งเป็นการเรียนรู้

ที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21