Table of Contents Table of Contents
Previous Page  45 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 45 / 62 Next Page
Page Background

45

ปีที่ 44 ฉบับที่ 201 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

นานาสาระ

และข่าวสาร

ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน • ราชบัณฑิตส�ำนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ และดาราศาสตร์

Herbert Aaron Hauptman

นักคณิตศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีปี 1985

เวลาเราเห็นโครงสร้าง 3 มิติของ

โมเลกุล เช่น DNA, myoglobin, haemoglobin

และ vitamin B

12

ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้ประกอบ

ด้วยอะตอมของธาตุต่างๆ ที่อยู่เรียงกัน

อย่างไม่เป็นระเบียบ เรามักรู้สึกตื่นตา ตื่นใจ

และอดสงสัยไม่ได้ว่า นักเคมี นักชีววิทยา และ

นักฟิสิกส์รู้ได้อย่างไรว่า โมเลกุลขนาดใหญ่

มีโครงสร้างดังที่ปรากฏ และใครคือผู้พบวิธี

หาความลึกลับและซับซ้อนนี้

ค�ำตอบคือ

เฮอร์เบิร์ต เฮาท์มาน

(HerbertHauptman)

ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์

ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจ�ำปี 1985

ร่วมกับ Jerome Karle

H.A. Hauptman

เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์

ค.ศ.1917 ที่กรุง New York ในสหรัฐอเมริกา และเริ่มสนใจ

คณิตศาสตร์ตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือที่โรงเรียน Townsend

Harris เมื่อบิดามารดาอนุญาตให้สามารถเลือกอาชีพอะไร

ก็ได้ Hauptman ได้ขอเป็นนักคณิตศาสตร์ จึงเข้าเรียนที่

มหาวิทยาลัย City College of New York จนส�ำเร็จการ

ศึกษาระดับปริญญาตรี ขณะอายุยังไม่ถึง 20 ปี อีกสองปี

ต่อมา Hauptman ก็ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจาก

มหาวิทยาลัย Columbia แล้วได้ไปหางานท�ำที่กรุง Washington

D.C.

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 Hauptman เข้ารับ

ราชการในต�ำแหน่งนักสถิติในสังกัดราชนาวี และมีหน้าที่

พยากรณ์สภาพอากาศเหนือดินแดนในแถบมหาสมุทร

แปซิฟิกตอนใต้ ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยดับเพลิง

ที่ฟิลิปปินส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้เรื่องการดับเพลิงเลย

ที่มา:

http://www.buffalo.edu/news/releases/2011/10/12973.html

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ Hauptman ได้กลับไป

ท�ำงานต่อที่ห้องปฏิบัติการ Naval Research Laboratory

และได้พบกับ Jerome Karle ซึ่งเคยเรียนระดับปริญญาตรี

ที่ City College เดียวกัน แต่ Karle เรียนเคมีเชิงกายภาพ

คนทั้งสองได้ตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย

Maryland ที่ College Park

Hauptman ส�ำเร็จปริญญาเอกเมื่ออายุ 38 ปี หลังจาก

นั้นได้ร่วมมือกับ Karle ในการท�ำวิจัยเรื่องวิธีหาโครงสร้าง 3 มิติ

ของผลึกโดยใช้รังสีเอกซ์มาวิเคราะห์รูปแบบการเลี้ยวเบนโดย

ผลึก เพราะในปี ค.ศ. 1953 โลกเพิ่งเห็นโครงสร้างที่เป็นเกลียว

คู่ของ DNA ที่ James Watson และ Francis Crick เป็นผู้พบ

แต่การจะเห็นโครงสร้างของโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่กว่า DNA

และประกอบด้วยอะตอมจ�ำนวนนับพัน และนับหมื่นนั้น

ยังไม่มีใครสามารถท�ำได้