

3
ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559
สินีนาฎ ทาบึงกาฬ • ผู้ชำ�นาญด้านการประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ สสวท. • e-mail:
schan@ipst.ac.thวันนี้ สสวท. ขอแนะน�ำให้รู้จัก
ครูชุมพล ชารีแสน ครูวิทยาศาสตร์
แห่งโรงเรียนดอนจานวิทยาคม อ�ำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้ ได้ รับรางวัลครูดีเด่ นประเทศไทยด้ านสะเต็ม สาขาวิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Thailand STEM Teacher Awards) ครั้งที่ 1
ประจ�ำปี พ.ศ. 2557 ด้วยผลงานที่มุ่งปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักพิจารณา
สิ่งแวดล้อมในองค์ รวม ส่ งเสริมให้นักเรียนท�ำวิจัย และท�ำโครงงาน
ด้านสิ่งแวดล้อมที่ช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยอยู่
ภายใต้โครงการสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
หรือโครงการ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit
the Environment) ของ สสวท.
แรงบันดาลใจในการสอน
เนื่องจากโรงเรียนดอนจานวิทยาคมเป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่เป็นป่าถึง 105 ไร่ สภาพอากาศ
และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจให้เกิดแนวคิดว่า จะต้องท�ำอย่างไรเพื่อให้สิ่งแวดล้อมเหล่านี้อยู่คู่
ชาวบ้านไปนานๆ แต่เมื่อหันไปดูพฤติกรรมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นจะพบว่า มีการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง หรือให้ประโยชน์น้อย นี่จึงเป็นการจุดประกายให้เกิดการเรียนรู้
ขึ้น ผมจึงได้ก่อตั้งชุมนุม GLOBE Chanwittayakom ขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีชื่อชุมนุมสิ่งแวดล้อม เพื่อเริ่ม
ปลูกฝังและฝึกนักเรียนกลุ่มที่สนใจให้ท�ำงานวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประกอบกับทางโรงเรียนได้เข้า
ร่วมโครงการ GLOBE ของ สสวท. ผมจึงได้ประยุกต์แนวทางปฏิบัติของ GLOBE ในการจัดการเรียน
การสอนให้ได้ประสบความส�ำเร็จ จนได้รับรางวัลมากมาย
วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และจุดเด่นของกิจกรรม
แนวทางหรือจุดเด่นของการท�ำงานวิจัย คือ เราจะศึกษาเพื่อแก้ปัญหาชุมชน จึงตั้งเป็น
แนวทางกว้างๆ ว่างานวิจัยของนักเรียนที่ท�ำนั้นสามารถเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของชุมชนได้
โดยให้นักเรียนลองสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว แล้วน�ำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมการเรียน
ก็จะเน้นการใช้แนวทางปฏิบัติของ GLOBE ช่วยในการด�ำเนินงานวิจัย การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยต่างๆ ในธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหา ใช้หลักการตรวจวัดของ GLOBE เพื่อท�ำให้งานวิจัยของเรา
เป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
ครูดีเด่นประเทศไทยด้านสะเต็ม
ครูชุมพล ชารีแสน
ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม