Table of Contents Table of Contents
Previous Page  5 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 5 / 62 Next Page
Page Background

แนวทางการสอนของ สสวท. ที่น�ำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

แนวการจัดการเรียนการสอนของโครงการ GLOBE ได้เสนอแนะการจัดกิจกรรม

ไว้มากมาย แต่ที่ได้น�ำมาใช้มากในการท�ำงานวิจัยคือเรื่อง หลักการตรวจวัดตามแนวทางของ

GLOBE ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดคุณภาพดิน น�้ำ อากาศ สิ่งปกคลุมดิน และอื่นๆ อีกมากมาย

การบูรณาการสะเต็มศึกษากับการพัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ

เริ่มจากการที่นักเรียนสังเกตแล้วเกิดข้อสงสัย เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่นักเรียนได้พบเห็น

แล้วเกิดข้อสงสัย หลังจากนั้นนักเรียนก็จะน�ำมาตั้งเป็นค�ำถามวิจัย แล้วออกแบบการทดลองหรือเครื่องมือ (E)

เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยนักเรียนจะได้สืบค้นความรู้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (S) หรือ

ข้อมูลสถิติที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (M) เพื่อความเป็นเหตุเป็นผล และความน่าเชื่อถือ แล้วนักเรียนก็ลงมือ

ปฏิบัติเก็บข้อมูล ครูเพียงช่วยเติมเต็ม หรือเป็นตัวช่วยในการท�ำงาน คอยดูแลเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ในการท�ำงาน (T)

ที่นักเรียนต้องใช้และฝึกทักษะปฏิบัติ เมื่อนักเรียนเก็บข้อมูลเสร็จนักเรียนก็จะวิเคราะห์ข้อมูล เกิดเป็นนวัตกรรม หรือ

เทคโนโลยีใหม่ๆ (T) นี่คือการบูรณาการ STEM กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ

นอกจากนี้ถ้านักเรียนไม่ประสบผลส�ำเร็จจากการท�ำงาน เราก็จะร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อเปลี่ยนสมมติฐานใหม่

เพื่อออกแบบและแก้ปัญหาใหม่ ดังนั้นครูจะเน้นย�้ำเสมอว่า นอกจากนักเรียนท�ำงานเสร็จแล้ว สิ่งที่จะมีคุณค่ามากที่สุด

คือการที่นักเรียนต้องน�ำไปใช้หรือลงมือปฏิบัติให้ผู้ปกครองทราบ จะท�ำให้ลงสู่ชุมชนได้มากขึ้น

การจัดกิจกรรมตามแนวทางนี้ ท�ำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสะเต็ม กระบวนการวิเคราะห์

การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การคิดอย่างเป็นระบบและองค์รวม การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การท�ำงานเป็นทีม

การสื่อสาร และการน�ำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจ�ำวัน นักเรียนได้เรียนรู้เองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยผ่าน

กระบวนการท�ำวิจัย และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เมื่อนักเรียนสังเกต ก็จะท�ำให้มีข้อสงสัย และค�ำถาม จึงสนใจ

อยากเรียนรู้เกี่ยวกับโลก และธรรมชาติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เชื่อมโยงกับปัญหาชุมชน

วิธีสร้ า ง แ รงบันดาล ใ จ ให้ นัก เ รียน

ท�ำโครงงาน และมุ่งมั่นท�ำวิจัย

ชี้ให้ นักเรียนเห็นประโยชน์ ที่ได้ รับจาก

การท�ำงานวิจัย โดยเฉพาะนักเรียนในชุมนุม เมื่อเข้า

แข่งขันและได้รับรางวัล และผลที่เกิดตามมาอีกอย่างคือ

การได้เข้าเรียนโดยวิธีรับตรง (โควตา) ดังนั้นเราจึงต้องชี้

ให้เห็นว่า นอกจากจะได้รักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว นักเรียน

ยังได้เรียนสิ่งที่นักเรียนชอบอีกด้วย การตระหนักเช่นนี้

จึงท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจในตัวนักเรียนเป็นอย่างมาก

ฝากอะไรไปถึงครูผู้สอน

ฝ า ก ถึ ง เ พื่ อ น ค รู วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ห รื อ

ครูกลุ่มสาระอื่นว่าในการท�ำงานนั้น เราต้องยึด

หลักการที่ว่า ท�ำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ท�ำความดีเพื่อ

ความดี เพราะหน้าที่ของครูคือการสอนหนังสือ

เมื่ออยู่ในโรงเรียนต้องท�ำหน้าที่ให้เต็มที่ ค้นหา

เทคนิคต่างๆ เพื่อพัฒนานักเรียน หาความรู้ใหม่ๆ

มาพัฒนาลูกศิษย์ ให้เขาได้พัฒนาตนเองจนเต็ม

ศักยภาพ และที่ส�ำคัญคือต้องส่งเสริมให้นักเรียน

ยึดในหลักคุณธรรม คือท�ำแล้วผลที่เกิดต้องไม่ท�ำให้

ผู้อื่นเดือดร้อน ท�ำแล้วต้องท�ำให้พ่อแม่ และครูอาจารย์

ภูมิใจในงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ

ขอเป็นก�ำลังใจให้ครูทุกคนที่เล็งเห็นการศึกษาของชาติ

เป็นสิ่งส�ำคัญ

ถ้าเราคุณครูทั้งหลายไม่สอนลูกศิษย์

ของเราแล้วใครจะสอน

5

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559