

54
นิตยสาร สสวท
บรรณานุกรม
Andresse, C.D. (2005).
Huygens: The Man Behind the Principle.
Cambridge University Press.
กฎการทรงโมเมนตัม ซึ่งมีใจความว่า ในการชนกันระหว่าง
อนุภาคสองอนุภาค โมเมนตัมเชิงเส้นของอนุภาคทั้งสองจะ
ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ โมเมนตัมเชิงเส้นของระบบก่อนการ
ชน จะเท่ากับโมเมนตัมเชิงเส้นทั้งหมดหลังการชนเสมอ
นอกจากองค์ความรู้นี้แล้ว Huygens ยังพบอีกว่า
เวลาอนุภาคเคลื่อนที่เป็นวงกลม ทิศการเคลื่อนที่ของอนุภาค
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น อนุภาคจะมีความเร่ง และ
ความเร่งนี้มีทิศเข้าสู่จุดศูนย์กลางของวงกลม อีกทั้งเป็น
ปฏิภาคโดยตรงกับค่า v
2
/r เมื่อ v คืออัตราเร็วของอนุภาค
และ r คือ รัศมีของวงกลม การค้นพบนี้ได้เสริมความถูกต้อง
ของกฎแรงโน้มถ่วงของ Newton ที่แถลงว่า แรงดึงดูดระหว่าง
มวลเป็นปฏิภาคผกผันกับระยะห่างระหว่างอนุภาคยกก�ำลัง
สอง และเป็นปฏิภาคตรงกับผลคูณระหว่างมวลทั้งสอง
ลุถึงปี ค.ศ. 1672 เมื่อแม่ทัพฝรั่งเศสกรีฑาทัพบุก
เนเธอร์แลนด์ Huygens ซึ่งเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ที่ท�ำงาน
ถวายสมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14 จึงตกที่นั่งล�ำบาก แต่ก็ยัง
ท�ำงานต่อไป โดยได้สร้างนาฬิกาเรือนใหม่ที่ท�ำงานดีมาก
เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14
เมื่ออายุ 56 ปี Huygens ต้องเดินทางกลับ
เนเธอร์แลนด์ เพราะพบว่าก�ำลังมีสุขภาพไม่ดี คือปวดศีรษะ
บ่อย และป่วยเป็นโรคซึมเศร้าด้วย เมื่อหายป่วยและสุขภาพ
ดีขึ้น Huygens ได้พยายามสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่
ที่มีเลนส์ความยาวโฟกัส 65 เมตร และได้ออกแบบเลนส์
ใกล้ตา (Eyepiece) ที่ช่วยในการมองกล้อง เลนส์จึงมีชื่อว่า
Huygens eyepiece
อีก 3 ปีต่อมา Huygens ได้เสนอผลงานที่ส�ำคัญ
ที่สุดในชีวิตเป็นทฤษฎีที่แถลงว่า แสงเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่
ไปได้ใน Ether เหมือนคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ในอากาศ และ
คลื่นน�้ำที่เคลื่อนที่ในน�้ำ ทฤษฎีคลื่นของ Huygens ไม่ได้รับ
การสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ เพราะขัดแย้งกับ
ทฤษฎีของ Newton ที่แถลงว่า แสงเป็นอนุภาค และเมื่อ
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับนับถือ Newton ผู้คนจึง
คิดว่า ใครก็ตามที่มีความเห็นขัดแย้งกับ Newton ย่อมเป็น
ฝ่ายผิดเสมอ
เมื่ออายุ 64 ปี Huygens ได้พบกับ Isaac
Newton และ Edmond Halley ที่ลอนดอน หลังจากที่ต�ำรา
The Principia ของ Newton ได้ออกมาปรากฏในบรรณโลก
แต่โลกรู้ว่า คนทั้งสองได้สนทนาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
ภาพ 4
อนุเสาวรีย์ Christiaan Huygens
ที่มา
https://nl.wikipedia.org/wiki/Bestand:Christiaan_Huygens_ Statue_Rotterdam.jpgหลังจากที่กลับถึงบ้านเกิด Huygens ได้ย้ายไป
อยู่ที่บ้านชนบทของบิดา แต่ยังท�ำงานวิทยาศาสตร์ต่อไป
โดยได้ตีพิมพ์ทฤษฎีแสงที่เกี่ยวข้องกับการส่องสว่าง (Traité
de La Lumière) และยังได้เสนอสมการเส้นโค้ง Catenary
ซึ่งเป็นเส้นโค้งที่เป็นไปตามลักษณะการแขวนเชือกหรือโซ่
ที่ปลายทั้งสองข้างของเชือกหรือโซ่ถูกตรึงแน่น Huygens
มีเพื่อนสนิทชื่อ Gottfriel Wilhelm Leibniz ซึ่งเป็นบุคคล
หนึ่งที่ให้ก�ำเนิดวิชา Calculus ทั้งสองมีความใกล้ชิดและ
สนิทกันมาก คงเพราะมี “ศัตรู” ร่วมกัน คือ Newton
วันที่ 8 กรกฏาคม ค.ศ. 1695 Huygens
ได้ เสียชีวิตอย่ างสงบด้ วยโรคหัวใจล้ มเหลว ต�ำรา
Cosmotheoros ของ Huygens ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
หลังจากที่ Huygens เสียชีวิตไปแล้ว ต�ำราได้กล่าวถึง
โครงสร้างของเอกภพ และความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิต
บนดาวเคราะห์ต่างๆ
ขณะมีชีวิตอยู่ Huygens ได้รับเกียรติยศและ
ชื่อเสียงมากมาย เช่น ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ Royal
Society ของอังกฤษ (F.R.S.) เมื่อมีอายุเพียง 34 ปี
ภูเขาบนดวงจันทร์มีชื่อว่า Mons Huygens ส่วน
หลุมอุกกาบาตบนดาวอังคารชื่อ Crater Huygens และที่
ปารีสมีถนนสายหนึ่งชื่อ Rue Huygens
ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเป็นวาระครบ 375 ปี แห่ง
ชาตกาลของ Huygens องค์การ NASA ได้ส่งยานอวกาศ
Cassini ไปส�ำรวจดาวเสาร์ กับดวงจันทร์บริวาร และเมื่อ
ยานเดินทางถึงดวงจันทร์ Titan ยานได้ปล่อยยานลูกชื่อ
Huygens ให้ลงส�ำรวจ Titan