Table of Contents Table of Contents
Previous Page  53 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 53 / 62 Next Page
Page Background

53

ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561

ภาพ 3

นาฬิกาลูกตุ้ม

ที่มา

https://en.wikipedia.org/wiki/Christiaan_Huygens

ภาพ 2

การค้นพบลักษณะดาวเสาร์ของ Christiaan Huygens

ที่มา

https://en.wikipedia.org/wiki/Christiaan_Huygens

การฝนเลนส์ด้วยตนเอง ตามกระแสนิยมของผู้คนในยุคนั้น

เพื่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ส�ำหรับใช้ดูดาว และประสบความส�ำเร็จ

ในการสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่มีอ�ำนาจในการแยกภาพได้ดี

จนสามารถเห็นรายละเอียดของดาวเคราะห์ต่างๆ ได้ดีกว่า

กล้องโทรทรรศน์ของคนอื่นๆ ในเวลานั้น

เมื่ออายุ 30 ปี Huygens เป็นบุคคลแรกที่ได้เห็น

Titan ซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์

และพบว่า ดาวเสาร์ที่ Galileo เคยเห็นว่ามีลักษณะไม่กลม

เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เพราะมีรูปร่างแตกต่างตามวัน

เวลาที่สังเกต เช่น บางเวลาจะเห็นมีดาวขนาดเล็กสองดวง

โคจรอยู่ข้างๆ เสมือนว่า ดาวเสาร์มี “หู” แต่ในบางเวลาหูทั้ง

สองข้างได้หายไป เสมือนว่าดาวเสาร์ได้กลืนกินดาวบริวารทั้ง

สองดวง ซึ่งก็ตรงตามเรื่องเล่าในเทพนิยายที่ยักษ์ Cronus ซึ่ง

เป็นเทพเจ้าประจ�ำดาวเสาร์ กินลูกของตนเอง

วาดภาพผิวของดาวอังคารอย่างหยาบๆ ได้ค�ำนวณรัศมี

ของดาว และเวลาที่ดาวใช้ในการหมุนรอบตัวเองด้วย

ในปี ค.ศ. 1661 Huygens ได้เดินทางไปเยือน

ลอนดอน เพื่อพบปะบรรดานักวิทยาศาสตร์อังกฤษที่มี

ชื่อเสียง เช่น Robert Boyle, Robert Hooke ที่สมาคม

Royal Society และรู้สึกประทับใจในผลงานของ Boyle ที่

ใช้ปั้มสุญญากาศในการพบกฎของ Boyle รวมถึงได้ชื่นชม

นาฬิกาที่ Hooke สร้าง แต่ Huygens พบว่านาฬิกายังเดินได้

ไม่เที่ยงตรง จึงสนใจจะสร้างนาฬิกาที่เดินได้เที่ยงตรงกว่า

ส่วนนาฬิกาลูกตุ้ม (Pendulum) ที่เป็นที่นิยมใช้ในเวลานั้น

ก็เดินได้ไม่เที่ยงตรงมาก เพราะลูกตุ้มที่แกว่งไปมามีรัศมี

(จึงมิได้เป็นอนุภาค) ดังนั้น เวลาในการแกว่งครบรอบจึงต้อง

ค�ำนึงถึงรูปทรงของลูกตุ้มด้วย ด้านเชือกที่ใช้ในการแขวน

ลูกตุ้มก็มีสมบัติยืดหยุ่น คือหดเข้า และยืดออกได้ ท�ำให้

ความยาวของเพนดูลัมเวลาแกว่งไม่คงตัว นอกจากนี้อากาศ

ซึ่งเป็นตัวกลางให้ลูกตุ้มเคลื่อนที่ ก็มีความหนืด (คือมีแรง

ต้าน) อุณหภูมิของอากาศโดยรอบจึงไม่คงตัว สาเหตุเหล่านี้

ท�ำให้นาฬิกาแต่ละเรือนเดินไม่เคยตรงกันเลย ช่างออกแบบ

นาฬิกาจึงได้ก�ำหนดให้นาฬิกามีเข็มชั่วโมงเพียงเข็มเดียว

บนหน้าปัด จากนั้น Huygens ก็ได้เปลี่ยนแปลงสปริง

ของ Hooke เป็นแบบสปริงเกลียว ท�ำให้นาฬิกาที่เขา

สร้างสามารถเดินได้เที่ยงตรงขึ้น จนสามารถน�ำไปใช้หา

ต�ำแหน่งของเมืองต่างๆ บนเส้นแวงได้ โดยให้เรือเดินทะเล

น�ำนาฬิกาที่ Huygens สร้าง ติดเรือไปด้วย นาฬิกาของ

Huygens จึงได้เปิดยุคของการส�ำรวจโลกและล่าอาณานิคม

เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดัง ในปี ค.ศ. 1664 สมเด็จ

พระเจ้า Louis ที่ 14 ได้ทรงเชิญ Huygens เป็นสมาชิก

ของสถาบัน Académie des Sciences ที่ปารีส โดยให้

เป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์ ขณะด�ำรงต�ำแหน่ง

นักวิทยาศาสตร์แห่งราชส�ำนักนี้เองที่ Huygens ได้พบ

ในที่สุดกล้องโทรทรรศน์ที่ Huygens สร้าง ก็ได้

ช่วยให้ Huygens ประจักษ์ความจริงว่า ดาวเสาร์มีวงแหวน

ล้อมรอบ และการที่เขาเห็นดาวเสาร์มีรูปร่างแปลกๆ เพราะ

ระนาบของวงแหวนเอียงท�ำมุมต่างๆ กับระดับสายตา เช่น

ถ้าระนาบวงแหวนอยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา วงแหวน

ก็จะไม่ปรากฏให้เห็น Huygens ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับการ

ค้นพบนี้เป็นรหัสเพราะไม่ต้องการให้ใครร่วมรู้เรื่องที่ตนพบ

อีก 3 ปีต่อมา Huygens ได้เห็น Orion nebula

(เนบิวลานายพราน) และดาวฤกษ์ 3 ดวง ในกลุ่มดาวนายพราน

ที่ปัจจุบันมีชื่อว่า Alnitak, Alnilam และ Mintaka อีกทั้งยังได้