

48
นิตยสาร สสวท
โครงการป้องกันดินถล่ม (Landslide Prevention
Project) เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพ
ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของ สสวท. ซึ่งนักเรียน
จะได้ความรู้เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการท�ำกิจกรรม
แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ
ในกิจกรรมนี้ นักเรียนจะต้องติดตั้งพื้นเอียงแทนพื้นที่ลาดเขา
และติดตั้งบ้านจ�ำลองแทนบ้านในหมู่บ้าน นักเรียนต้องช่วยกัน
ค�ำนวน วางแผนการติดตั้งบ้านกระดาษตามเงื่อนไขที่วิทยากร
ก�ำหนด และทดสอบด้วยการเทถั่วเขียวลงบนพื้นเอียง ซึ่งใช้
แทนเหตการณ์ดินถล่ม สังเกตและจดบันทึกระยะทางที่บ้าน
เคลื่อนที่ จากนั้นแล้วแต่ละกลุ่มจะได้รับวัสดุเพิ่มเติมเพื่อน�ำมา
ปรับปรุงพื้นเอียง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเสียหายของ
หมู่บ้านที่จะเกิดจากเหตุการณ์ดินถล่มในอนาคต
ในกิจกรรมนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ผลกระทบที่เกิด
จากเหตุการณ์ดินถล่ม ซึ่งเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มัก
เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ไหล่เขา ได้เรียนรู้ว่า
การปรับปรุงหน้าดินสามารถป้องกันการเกิดดินถล่มได้
สามารถเชื่อมโยงวัสดุที่นักเรียนใช้ปรับปรุงพื้นเอียงไปถึง
การปรับปรุงและป้องกันหน้าดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝก
การสร้างสิ่งกีดขวางหน้าดิน การสร้างผิวที่ขรุขระเพื่อชะลอ
การไหลของดิน ซึ่งป้องกันการเกิดดินถล่มได้ การอภิปราย
กิจกรรมได้เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเรื่องปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่ม เช่น ปริมาณน�้ำฝน การขาดความ
สมบูรณ์ของดินและไม่มีพืชคลุมดิน การขุดดินตามบริเวณ
ไหล่เขา และการเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงการเสนอแนะวิธี
แก้ปัญหาอื่นๆ เช่น การปรับความชันของพื้นเอียง
กิจกรรม รวมพลังป้องกันดินถล่ม
เรียนรู้ผลกระทบจากเหตุการณ์ดินถล่ม และสนุกกับการหาวิธีป้องกันไม่ให้บ้านได้รับความเสียหาย
วัสดุอุปกรณ์ส�ำหรับ 1 กลุ่ม
บ้านกระดาษ 5 หลัง ถาด 1 ใบ เมล็ดถั่วเขียว 1 ถ้วย ส�ำลี กระดาษฟอยล์ เชือก กาว หลอดกาแฟ และ
พื้นเอียง
กติกา
ตอนที่ 1
วางบ้านกระดาษบนถาด โดยมีเงื่อนไขว่า ต�ำแหน่งที่ตั้งของบ้านแต่ละหลังจะต้องอยู่ใน
อาณาเขตที่สร้างขึ้นจากผลรวมของระยะห่างของบ้านทุกหลังกับพื้นเอียงโดยต้องไม่เกิน 60 เซนติเมตร จากนั้น
เทเมล็ดถั่วเขียวลงไปบนพื้นเอียง แล้วสังเกตการเคลื่อนที่ของบ้าน
ตอนที่ 2
ปรับปรุงพื้นเอียงเพื่อให้บ้านได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยน�ำวัสดุที่ได้รับมาติดบนพื้นเอียง
เพื่อชะลอการไหลของเมล็ดถั่วเขียวแล้วสังเกตการเคลื่อนที่ของบ้าน
ความรู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากดินถล่ม วิธีป้องกันดินถล่ม
ภาพ 3
วางแผนติดตั้งบ้านกระดาษและเทเมล็ดถั่วเขียวบนพื้นเอียง