Table of Contents Table of Contents
Previous Page  43 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 43 / 62 Next Page
Page Background

43

ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561

การอภิปราย

หลักการทางวิทยาศาสตร์

ของเรือด�ำน�้ำหาสมบัติ

3. ติดดินน�้ำมันก้อนเล็กๆ ที่ยางวง โดยสมมุติว่าเป็น

สมบัติ

4. ใส่สมบัติ (ยางวง) และหลอดที่อุดด้วยดินน�้ำมัน

โดยให้ตะขออยู่ทางด้านล่าง ลงในขวดที่มีน�้ำเต็ม

ปิดฝาขวดให้แน่น ดังรูป

5. บีบและคลายขวดน�้ำ เพื่อให้หลอดเคลื่อนที่ขึ้นลง

ในน�้ำ แล้วใช้ตะขอลวดเกี่ยวสมบัติ (ยางวง) ให้ได้

มากที่สุด สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะบีบ

และคลายขวดน�้ำ

เมื่อใส่หลอดดูดน�้ำที่อุดด้วยดินน�้ำมันลงในแก้ว

ที่มีน�้ำอยู่ หลอดจะลอยน�้ำและสามารถปรับให้หลอด

ตั้งตรงได้ และเมื่อน�ำหลอดไปใส่ลงในขวดที่มีน�้ำเต็มแล้ว

ปิดฝาให้แน่น หลอดดูดน�้ำที่อุดด้วยดินน�้ำมันจะลอย

และตั้งตรงอยู่ในน�้ำในขวดได้

จากนั้นผู้ เข้ าร่ วมกิจกรรมสามารถสังเกต

การเคลื่อนที่ของหลอดดูดน�้ำด้วยการบีบขวดและคลายมือ

ที่บีบขวด ซึ่งพบว่าเมื่อบีบขวดน�้ำ หลอดดูดน�้ำที่อุดด้วย

ดินน�้ำมันจะแฟบลง แล้วเคลื่อนที่ลงมาสู่ก้นขวด และ

เมื่อคลายมือที่บีบขวด หลอดดูดน�้ำที่อุดด้วยดินน�้ำมัน

จะกลับมามีลักษณะเหมือนเดิม คือ ไม่แฟบ แล้วเคลื่อนที่

กลับขึ้นไปยังด้านบนได้เหมือนเดิม

ความรู้ที่ได้ค้นพบจากหลักฐานเชิงประจักษ์นี้

สามารถน�ำไปสู่การอภิปรายเพื่อให้เข้าใจหลักการทาง

วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ด้วยค�ำถามเพื่ออภิปรายดังนี้

1. เมื่อใส่หลอดที่อุดด้วยดินน�้ำมันลงไปในขวด

ที่มีน�้ำเต็มแล้วปิดฝาให้แน่น หลอดลอยน�้ำได้

เพราะเหตุใด

• หลอดดูดน�้ำที่อุดด้วยดินน�้ำมัน

ซึ่งอยู่ในขวดที่มีน�้ำเต็มขวด และปิดฝาให้แน่น

น�้ำจะไม่สามารถเข้าไปในหลอด และหลอดยัง

ลอยอยู่ในน�้ำได้ เพราะมีความหนาแน่นน้อย

กว่าน�้ำ ทั้งนี้ ความหนาแน่นของวัตถุขึ้นกับ

มวลต่อปริมาตรของวัตถุนั้น

2. เมื่อบีบขวดน�้ำที่ปิดฝาจนแน่น หลอดที่อุด

ด้วยดินน�้ำมันจมลงไป เพราะเหตุใด

กิจกรรมนี้ อาจจัดแข่งขันกันในเวลา

ที่จ�ำกัด ผู้ที่สามารถเก็บสมบัติได้มากที่สุดคือ

ผู้ชนะเลิศ