Table of Contents Table of Contents
Previous Page  45 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 45 / 62 Next Page
Page Background

45

ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561

บรรณานุกรม

Bernie T. and Charles F. (2009).

21

st

Century Skills: Learning for Life in Our Times.

United States of America: John Wiley & Sons, Inc.

Education Solutions for Families.

How does a submarine work?

. Retrieved September 18, 2018, from

https://wonderopolis.org/wonder/ how-does-a-submarine-work-2.

Mathews, M. R. (1999).

Constructivism in Science Education: A Philosophical Examination.

London: Kluwer Academic Publishers.

จรัส บุณยธรรมา.

แรงลอยตัว

. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561,

จาก

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/ howstuffwork/howstuff1/submarine/submarinethai1.htm

.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560, จาก

http://www.royin.go.th

.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561).

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ เล่ม ๑.

กรุงเทพมหานคร:

องค์การค้าของ สกสค.

1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการลอย การจมของวัตถุ และสามารถเชื่อมโยงหลักการท�ำงานของเรือด�ำน�้ำในชีวิตจริงได้

2. ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้แก่

2.1 ทักษะการสังเกต ได้ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ ตา หู

จมูก ลิ้น ผิวกาย หรือสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ เพื่อค้นหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งนั้นโดยไม่ใส่

ความเห็นของผู้สังเกต เช่น สังเกตการเคลื่อนที่ของหลอดดูดน�้ำ รูปร่างของหลอดดูดน�้ำ ดินน�้ำมัน

และลักษณะของขวดด้วยตา

2.2 การลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการเพิ่มความเห็นให้แก่ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล

เพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตได้ เช่น ต้องท�ำให้รูปร่างของดินน�้ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของ

หลอดดูดน�้ำมีมวลไม่เท่ากัน เพื่อให้ด้านหนึ่งมีน�้ำหนักมากกว่า การที่หลอดดูดน�้ำที่อุดด้วย

ดินน�้ำมันลอยได้ เพราะมีความหนาแน่นน้อยกว่าน�้ำ

3. ได้ฝึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น

3.1 ทักษะการแก้ปัญหา เมื่อให้สถานการณ์แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า ท�ำอย่างไรจึงจะท�ำให้หลอดดูดน�้ำ

ที่อุดด้วยดินน�้ำมันลอยน�้ำและตั้งตรงในน�้ำได้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้มา

รวมทั้งความรู้ ทักษะต่างๆ ในการแก้ปัญหาที่ตนเองพบเพื่อให้สามารถท�ำตามสถานการณ์ได้

3.2 ทักษะการสื่อสาร เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ท�ำกิจกรรม ได้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์เรื่องการจม

การลอยของวัตถุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียบเรียงความคิดและน�ำเสนอเป็นค�ำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

สรุป

การท�ำกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้และฝึกทักษะต่างๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

สิ่งที่เหมือนกัน คือ เรือด�ำน�้ำจริงและหลอดที่อุดด้วยดินน�้ำมัน สามารถลอยและจมในน�้ำได้ โดยใช้หลักการของ

ความหนาแน่นของวัตถุ ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าน�้ำ วัตถุจะจมน�้ำ แต่ถ้ามีความหนาแน่นน้อยกว่าน�้ำ วัตถุจะลอยน�้ำได้

ส่วนสิ่งที่แตกต่างกัน คือ หลักการท�ำงานของเรือด�ำน�้ำ หากต้องการให้เรือด�ำน�้ำของจริงจมลง จะต้องน�ำน�้ำเข้าไปในถังบัลลาสต์

ซึ่งเป็นถังควบคุมการลอยตัวหรือจม จนมีน�้ำเต็มถัง ดังภาพ 3 ท�ำให้ความหนาแน่นของเรือทั้งล�ำมีค่ามากกว่าความหนาแน่น

ของน�้ำ และถ้าต้องการให้เรือด�ำน�้ำลอย ผู้ควบคุมจะต้องอัดอากาศจากถังเก็บให้ไหลเข้าไปในถังบัลลาสต์ เพื่อไล่น�้ำออกจาก

ถังบัลลาสต์ จนกระทั่งความหนาแน่นของเรือมีค่าน้อยกว่าน�้ำ เรือด�ำน�้ำจึงลอยได้ ซึ่งแตกต่างจากการลอย การจมของหลอด

ที่อุดด้วยดินน�้ำมัน เพราะเมื่อจะท�ำให้หลอดจมจะต้องใช้แรงของน�้ำกระท�ำต่อหลอด ท�ำให้หลอดแฟบ ไม่มีน�้ำไหลเข้าไป

ในหลอดเหมือนเรือด�ำน�้ำจริง ซึ่งมีการแทนที่อากาศด้วยน�้ำ ถ้าต้องการให้หลอดลอย ก็ลดแรงของน�้ำที่กระท�ำต่อหลอดลง

เมื่อหลอดดูดน�้ำไม่แฟบ หลอดก็จะลอยขึ้นมาได้