

41
ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561
การเรียนกระตุ้น
ความคิด
พจนา ดอกตาลยงค์ • นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. • e-mail:
pokhu@ipst.ac.thกิจกรรม
เรือด�ำน�้ำหาสมบัติ
การเรียนวิทยาศาสตร์จากการอ่านหนังสือหรือข้อมูลต่างๆ ที่ค้นหาได้ แล้วท่องจ�ำความรู้นั้น เมื่อเวลาผ่านไป
ความรู้เหล่านั้นจะอยู่ไม่คงทน และจะหายไปพร้อมกับเวลา แต่การเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ ได้พบเห็นสิ่งที่เป็น
ประจักษ์พยาน ท�ำให้ได้ทั้งความรู้ ทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสร์ ทักษะการท�ำงานร่วมกัน หรืออื่นๆ
ที่มากกว่าความรู้ เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ที่ได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์จะคงอยู่นานกว่าการท่องจ�ำ ด้วยเหตุนี้
กิจกรรมเรือด�ำน�้ำหาสมบัติ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์จาก
หลักฐานเชิงประจักษ์ ผ่านการแข่งขันที่สนุกสนาน รวมทั้งได้ฝึกทักษะต่างๆ กับเพื่อน
ถ้าผู้สอนจะน�ำกิจกรรมนี้ไปจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้มีความหมายกับผู้เรียน ผู้สอนควรตรวจสอบ
ความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ารู้จักเรือด�ำน�้ำหรือไม่ และหลักการท�ำงานของเรือด�ำน�้ำเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนได้สะท้อน
ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ และผู้สอนก็จะทราบว่าความรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างไร จะได้ปรับการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง
กับความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ก่อน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีการสร้างองค์
ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ที่กล่าวว่า การสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือกระท�ำด้วยตนเอง (Learning by Doing)
หรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งรวมถึง
ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์ และ
สิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าผู้เรียนเข้าใจตนเอง
เห็นความส�ำคัญในสิ่งที่เรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงความรู้ ใหม่กับ
ความรู้เก่า และสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา (Mathews, 1999)
เมื่อผู้สอนได้ตรวจสอบความรู้ เดิมของผู้ เรียนเกี่ยวกับ
หลักการท�ำงานของเรือด�ำน�้ำแล้ว หากผู้เรียนมีแนวคิดคลาดเคลื่อน
หรือไม่รู้ หรือผู้เรียนมีความอยากรู้เรื่องอื่น เช่น มีแรงอะไรบ้างเกี่ยวข้อง
กับการด�ำน�้ำของเรือ ผู้สอนสามารถชักชวนให้ผู้เรียนหาค�ำตอบที่ยัง
สงสัย โดยผ่านการท�ำกิจกรรมเรือด�ำน�้ำเพื่อหาสมบัติต่อไปได้
