

36
นิตยสาร สสวท
ในการทดลองทางฟิสิกส์ ปริมาณที่ต้องการหาค่า (ขั้นตอนสุดท้าย) จะมีความเกี่ยวข้องกับการค�ำนวณ
เชิงคณิตศาสตร์ระหว่างตัวแปร (ปริมาณที่วัดได้) ความคลาดเคลื่อนของปริมาณที่ต้องการหาค่าจะมีความสัมพันธ์กับ
ความคลาดเคลื่อนปริมาณพื้นฐานที่หาได้ ซึ่งสามารถหาได้จากหลายวิธี ในบทความนี้จะเสนอเป็นวิธี Quardrature
โดยสามารถแบ่งออกตามการกระท�ำเชิงคณิตศาสตร์พื้นฐานได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
กรณีการบวกลบ
กรณีการคูณหาร
กรณีฟังก์ชัน
ส่วนใหญ่ปริมาณทางฟิสิกส์ที่ต้องการหาค่า จะเป็นการค�ำนวณเชิงคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนขึ้น โดยความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรในรูปแบบของ 3 กรณีผสมกัน เมื่อทราบปริมาณที่ต้องการน�ำเสนอ รวมถึงความคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวข้องแล้ว
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการน�ำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีหลายรูปแบบ อย่างที่ง่ายที่สุดคือรูปแบบตาราง จ�ำนวนทศนิยม
ที่น�ำเสนอจะต้องมีความสอดคล้องกับเลขนัยส�ำคัญ (ไม่ใช่การค�ำนวณมาโดยตรง) และต้องใส่หน่วยของปริมาณนั้นๆ ด้วย
รูปแบบที่มีความซับซ้อนขึ้นแต่เป็นที่นิยมคือ การน�ำเสนอข้อมูลในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงภาพ (Graphic Representation)
ในบทความนี้จะน�ำเสนอเป็น Histogram แผนภูมิแท่ง (Bar Graph) แผนภูมิวงกลม (Pie Graph) และการวาดกราฟ
แบบกระจาย (Scatter Plot)
Histogram
เป็นการแสดงการกระจายตัวของข้อมูล โดยแกนตั้ง
จะเป็นจ�ำนวนหรือความถี่ของข้อมูล และแกนนอนจะเป็น
ข้อมูลเชิงปริมาณที่ต่อเนื่อง ข้อสังเกตของการแสดงข้อมูล
แบบนี้คือ แท่งความถี่ของข้อมูลที่สร้างขึ้นจะติดกัน เนื่องจาก
ข้อมูลเชิงปริมาณมีความสัมพันธ์กับจ�ำนวนหรือความถี่
ดังตัวอย่างในภาพ 2
ภาพ 2
ตัวอย่าง Histogram ของเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของอนุภาคทองนาโนจากการสุ่มวัด
ความถึ่
เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคทองนาโนจากการสุ่มวัด (nm)
4
6
8
5
7
9