

32
นิตยสาร สสวท
ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ในการจ�ำแนกวัสดุดังกล่าว โดยเริ่มจากการออกแบบ (Design) การสร้าง (Develop) การทดสอบ
ประสิทธิภาพที่เหมาะสม (Optimize) หากพบว่ายังมีประสิทธิภาพไม่ดี ก็สามารถกลับมาออกแบบใหม่อีกครั้ง (Re-design)
จนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือนที่สามารถจ�ำหน่ายให้ผู้สนใจได้ดังภาพ 4
ภาพ 4
ผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือน
ผู้อ่านอาจมองเห็นว่า การเลี้ยงไส้เดือนดิน นักเรียนจะได้เรียนรู้และฝึกฝนกระบวนการท�ำงานที่เน้นการแก้ปัญหา
และคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดเฉพาะหน้าและต้องระบุปัญหาให้เห็นขอบเขต
ที่ชัดเจน (Define Problem) และต้องอาศัยการศึกษาและเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ เพื่อออกแบบสร้างแนวทางในการแก้ปัญหา
(Possible Solutions) มีการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็น
ส่วนประกอบที่ส�ำคัญของ กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process)
คณิตศาสตร์ของการเลี้ยงไส้เดือน
คณิตศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับการค�ำนวณสัดส่วนอาหาร ที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน
ให้เหมาะสมกับจ�ำนวนไส้เดือน การนับจ�ำนวนไส้เดือน การชั่งน�้ำหนักไส้เดือน การชั่ง
น�้ำหนักอาหาร การวัดความยาวตัวไส้เดือน การค�ำนวณก�ำไรขาดทุนในการจ�ำหน่าย
มูลไส้เดือน นอกจากการค�ำนวณแล้วยังต้องอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ
เรื่องรูปร่าง รูปทรง ปริมาตร ปริภูมิ ซึ่งในกิจกรรมจะต้องมีการออกแบบรูเครื่องร่อน
มูลไส้เดือนว่าจะต้องมีรูปร่างและขนาดที่เหมาะสม ตลอดจนการหาพื้นที่ การหาค่าเฉลี่ย
ต่างๆ ในการเลี้ยงไส้เดือน รวมถึงทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม การให้เหตุผลอย่างมีตรรกะ
โดยครูอาจจะเสริมให้นักเรียนมีการน�ำเสนอข้อมูลสถิติเกี่ยวกับปริมาณการขายมูลไส้เดือน
และสามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ ตลอดจนสามารถน�ำความรู้ หลักการ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ ได้