Table of Contents Table of Contents
Previous Page  34 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 34 / 62 Next Page
Page Background

34

นิตยสาร สสวท

วิทชุกร ภู่ทอง • นักวิชาการ ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.

• e-mail:

wphut@ipst.ac.th

การเรียนกระตุ้น

ความคิด

การรายงานผลการทดลอง

ที่มีการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน

การรายงานผลการทดลองมีความส�ำคัญในการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทฤษฎี หรือพบความบกพร่องของทฤษฎีเดิมที่ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์

ที่เกิดขึ้นได้ ดังที่ Richard Feynman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1965 กล่าวไว้ว่า “The test of all knowledge

is experiment. Experiment is the sole judge of scientific ‘truth’.”

ความเที่ยงและความแม่น

การรายงานผลการทดลอง สิ่งที่ผู้รายงานจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงเสมอคือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับ

ความแม่น (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) โดยความเที่ยงจะบ่งบอกว่าค่าที่ได้ (วัดมาหรือค�ำนวณมา) ใกล้เคียงกับ

ค่าควรจะเป็นมากหรือน้อยเพียงใด ส่วนความแม่นจะบ่งบอกความแตกต่างกันของค่าที่ได้จากการวัดหลายๆ ครั้ง ความแม่น

และความเที่ยงในการทดลองหนึ่งๆ อาจพิจารณาได้เป็น 4 กรณี ดังภาพ 1

ภาพ 1

ความเป็นไปได้ของความแม่นและความเที่ยง จากการทดลองหนึ่งๆ

ผู้ท�ำการทดลองจึงควรออกแบบการทดลองให้ได้ผลที่มีความแม่นสูงและความเที่ยงสูง โดยการลดความคลาดเคลื่อน

(Error) จากการทดลอง ความคลาดเคลื่อนในการทดลองวิทยาศาสตร์ไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาด (Mistake) อย่างไรก็ตาม

เมื่อผู้ทดลองไม่สามารถหลีกเลี่ยงความคลาดเคลื่อนได้ การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ดังค�ำกล่าวว่า

“การทดลองจะไม่ถือว่าสิ้นสุด ถ้าผู้ทดลองยังไม่ได้วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน” ความคลาดเคลื่อนสามารถค�ำนวณได้หลายวิธี

โดยทั่วไปสามารถแบ่งความคลาดเคลื่อนได้เป็น ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random Error) หรือความคลาดเคลื่อนเชิงสถิติ

(Statistical Error) และความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ (Systematic Error) โดยที่ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม จะเกิดขึ้นใน

การทดลองที่มีความเที่ยงต�่ำ (Low Precision) การทดลองที่ท�ำซ�้ำยาก จะมีสาเหตุของความคลาดเคลื่อนที่ไม่ชัดเจน เช่น