Table of Contents Table of Contents
Previous Page  30 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 30 / 62 Next Page
Page Background

30

นิตยสาร สสวท

ก่อนจะเริ่มให้นักเรียนด�ำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือน ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนศึกษาและรวบรวมข้อมูล

เกี่ยวกับลักษณะทางชีวภาพและการด�ำรงชีวิตของไส้เดือนก่อน ตัวอย่างเช่น อาหารไส้เดือนเป็นสารอินทรีย์ เช่น ผัก ถั่วเหลือง

มูลสัตว์ อาหารของไส้เดือนขณะเริ่มต้น (Bedding) ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถใช้มูลโค (หรือมูลสัตว์อื่น) ผสมกับขุยมะพร้าว

(หรือใช้เศษใบไม้ ใบหญ้า หรือสารอินทรีย์ชนิดอื่นที่มีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง) และผ่านการหมักอย่าง

เหมาะสมแล้ว ทั้งนี้ที่อยู่อาศัย (Habitat) ของไส้เดือน ควรมีความพรุน (Porosity) และไม่อัดตัวแน่น (Not Packed Tightly)

เก็บความชื้น (Retain Moisture) ได้ดี ส่วนภาชนะส�ำหรับเป็นที่อยู่ของไส้เดือนมีหลากหลาย เช่น กะละมัง กล่องพลาสติก

ลังพลาสติก โดยพื้นของภาชนะจะต้องเจาะรู เพื่อป้องกันน�้ำขังและช่วยระบายอากาศ ส่วนสถานที่เลี้ยงไส้เดือน

ควรมีอุณหภูมิ 15-25 ํC ความชื้น 80-90 % ความเข้มข้นของแอมโมเนียต�่ำกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเข้มข้นของเกลือ

ต�่ำกว่า 0.5 % ความเป็นกรด-เบส (pH) ควรอยู่ในช่วง 5-9 ควรปิดภาชนะให้มืด แต่ให้มีอากาศระบายได้สะดวก อาหารเสริม

ของไส้เดือน เป็นการให้อาหารแก่ไส้เดือนระหว่างการเลี้ยงโดยโรยที่ผิวด้านบน (กากเต้าหู้) หรือฝังกลบ (ผัก อาหารสด)

(อุทัยวรรณ โกวิทวที และคณะ, 2559)

ไส้เดือนสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงคือ African Night Crawler (

Eudrilus eugeniae

) เป็นไส้เดือนในกลุ่มไส้เดือนผิวดิน

(Epigamic Earthworm) จะกินอาหารที่ผิวดินเป็นหลัก และขับถ่ายที่ผิวดิน โดยจะออกหากินในเวลากลางคืน นอกจากนั้น

สภาพแวดล้อมของไส้เดือนต้องมีความชื้นที่เหมาะสม คือ ไม่แห้งหรือชื้นเกินไป รวมทั้งต้องมีระดับออกซิเจนที่เพียงพอ

และอากาศต้องถ่ายเทได้ดีจึงจะท�ำให้ไส้เดือนมีชีวิตอยู่ได้ การจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อไส้เดือน ย่อมท�ำให้ไส้เดือน

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และผสมพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ สิ่งที่

ต้องค�ำนึงอีกอย่างหนึ่งคือ พันธุกรรมของไส้เดือนหรือสายพันธุ์

ไส้เดือนสายพันธุ์แอฟริกา ดังภาพ 1จะเจริญเติบโตเร็ว กินอาหารมาก

ออกลูกเป็นจ�ำนวนมากในแต่ละครั้ง เหมาะส�ำหรับเลี้ยงเพื่อก�ำจัด

ขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยหมัก และน�ำไส้เดือนไปเป็นแหล่งโปรตีนใน

อาหารสัตว์ได้ ซึ่งแตกต่างจากไส้เดือนชนิดอื่น (Curry และ Schmidt,

2007) อย่างไรก็ตาม หากเลี้ยงไส้เดือนเป็นเวลานาน (หลายรอบ

วงจรชีวิต) อาจมีโอกาสเกิดการผสมเลือดชิด (Inbreeding) สูงขึ้น

ท�ำให้ไส้เดือนมีพันธุกรรมด้อยลง ซึ่งจะท�ำให้ขนาดเล็กลง ไม่แข็งแรง

และตายง่าย (Velando และคณะ, 2006) ซึ่งในประเด็นเหล่านี้ครูควร

ให้นักเรียนได้มีโอกาสสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ในประเด็นที่

นักเรียนสนใจ นอกเหนือจากประเด็นการเลี้ยง เช่น กายวิภาค และ

คุณค่าทางเศรษฐกิจ

นอกจากจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือนแล้ว

ครูควรส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ให้แก่

นักเรียนในระหว่างการเลี้ยงไส้เดือนด้วย โดยให้นักเรียนสังเกต

พฤติกรรมของไส้เดือนว่าผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ การจ�ำแนก

ไส้เดือนออกมาจากกากอาหาร ซึ่งสามารถใช้พฤติกรรมธรรมชาติของไส้เดือนเพื่อให้การปฎิบัติงานง่ายขึ้นด้วย และนักเรียน

ต้องมีจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific Mind) เช่น มีความสงสัยใคร่รู้ และอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยงไส้เดือนได้

เป็นอย่างดี

ภาพ 2

ไส้เดือนสายพันธุ์แอฟริกา

วิทยาศาสตร์ของการเลี้ยงไส้เดือน