Table of Contents Table of Contents
Previous Page  31 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 31 / 62 Next Page
Page Background

31

ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561

ภาพ 3

เครื่องร่อนมูลไส้เดือน

เทคโนโลยีของการเลี้ยงไส้เดือน

วิศวกรรมศาสตร์ของการเลี้ยงไส้เดือน

นักเรียนสามารถเรียนรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงไส้เดือน เช่น การใช้เครื่องวัดค่า pH เพื่อวัดค่าความเป็น

กรด-เบส เครื่องตรวจวัดความชื้น เครื่องชั่งน�้ำหนักไส้เดือน อาหาร ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล

ซึ่งเป็นการส่งเสริมด้าน ICT literacy อีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้การหาสูตรอาหารเลี้ยงไส้เดือนก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีหนึ่ง

เช่น สูตรอาหารจากมูลไก่และเศษใบไม้ ในกรณีที่หามูลวัวและขุยมะพร้าวไม่ได้ พบว่าต้องใช้มูลไก่ 1 ส่วน และเศษใบไม้

1 ส่วน ซึ่งแตกต่างจากสูตรทั่วไปที่ใช้มูลวัว 2 ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน เนื่องจากมูลไก่มีความเข้มข้นสูงกว่ามูลวัว

นอกจากนี้เทคโนโลยียังหมายความรวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์มาเพื่อช่วยในกระบวนการเลี้ยงไส้เดือน เช่น

เครื่องร่อนมูลไส้เดือนออกจากกากอาหาร ซึ่งผู้เขียนพบเห็นที่มินิมูร่าห์ฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังภาพ 3 รวมถึงเทคโนโลยี

ที่เป็นเทคนิครูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ที่ได้จากปัญหา

ระหว่างเลี้ยงไส้เดือน เช่น มีพื้นที่ในการเลี้ยงจ�ำกัด

ไม่มีเวลาในการรดน�้ำทุกวัน สามารถใช้ชั้นวางของ

มาเจาะรูในแต่ละชั้น โดยชั้นล่างไม่ต้องเจาะรูระบายน�้ำ

เพื่อให้ความชื้นแก่ไส้เดือน การเลี้ยงเช่นนี้ไส้เดือน

สามารถอยู่ได้นานกว่า 7 วัน ซึ่งรวมไปถึงการขยาย

ขนาดการเลี้ยงในปริมาณที่มากขึ้น โดยใช้ระยะเวลา

ในการท�ำงานที่น้อยลง ซึ่งอาจหมายถึงใช้เครื่องมือ

อัตโนมัติด้วย นอกจากนี้เทคโนโลยียังเกี่ยวข้องกับ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล

เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงไส้เดือน รวมทั้ง

ใช้โปรแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการ

ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือนเพื่อจ�ำหน่าย

ได้อีกด้วย

วิศวกรรมศาสตร์เป็นกระบวนการในการท�ำงานที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงไส้เดือน ทั้งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบ

หรือใช้พัฒนาขั้นตอนการท�ำงานต่างๆ เช่น ในบางครั้งอาจพบปัญหาไส้เดือนเลื้อยหนีจากที่อยู่อาศัย โดยไม่ยอมเลื้อย

ลงดิน เมื่อวิเคราะห์สาเหตุแล้ว อาจเป็นเพราะแหล่งที่อยู่ยังไม่มีความเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับภาชนะที่ใช้เลี้ยง

หรือปุ๋ยคอกที่ได้มาจากการล้างโรงเรือนด้วยโซดาไฟที่อาจติดมา ท�ำให้ไส้เดือนไม่ยอมลงดิน จึงจ�ำเป็นต้องออกแบบสัดส่วน

ของสิ่งที่ใส่ไปในภาชนะเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของไส้เดือน ทดสอบและประเมินประสิทธิภาพว่า เมื่อเปลี่ยนสูตรการเลี้ยงแล้ว

ไส้เดือนยังคงเลื้อยหนีออกนอกภาชนะเลี้ยงหรือไม่ จากนั้นอาจมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนส่วนผสมอีกหลายครั้ง จนกระทั่ง

ได้สูตรที่ดีที่สุด นอกจากนี้เวลาเก็บมูลไส้เดือนต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและหาวิธีการแก้ปัญหา อาจพบปัญหา

ในการแยกมูลไส้เดือนกับกากอาหาร และวัสดุปูนอนออกจากกัน การใช้ตะแกรงร่อนอาจแยกวัสดุดังกล่าวไม่หมด จึงต้อง