

27
ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561
ที่มา
http://teachers.egfi-k12.org/lesson-build-lunar-lander/ภาพ 6
ยานอวกาศรูปแบบต่างๆ ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกแบบ สร้าง และทดสอบการลงจอดได้ส�ำเร็จ
การท�ำกิจกรรมนี้ อาจมีรางวัลส�ำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่น�ำยานอวกาศลงจอดส�ำเร็จเป็น 3 คนแรก เพื่อจูงใจ
ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดสอบตนเองในการสร้างสรรค์ชิ้นงานให้ส�ำเร็จ เข้าร่วมการแข่งขันกับเพื่อนๆ เพื่อความสนุกสนาน
ตื่นเต้น และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงว่า การแข่งขันทางธุรกิจเพื่อผลิตสินค้าออกมาขายก่อนบริษัทคู่แข่ง จ�ำเป็นต้องมีความคิด
สร้างสรรค์ในการผลิตสิ่งใหม่ๆ และรีบผลิตออกมาเพื่อการเป็นผู้น�ำในการตลาด
ในการท�ำกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้ ความสนุก ความมุ่งมั่น การยอมรับความผิดพลาด และได้
ใช้ความคิดในการสร้างสรรค์ การวิเคราะห์และปรับปรุงชิ้นงาน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ
ข้อเสนอแนะ
ภารกิจที่เปลี่ยนไปและยานอวกาศที่ไม่เหมือนเดิม
1. ในกรณีที่เวลาในการท�ำกิจกรรมมีน้อย ผู้จัดกิจกรรมอาจให้
ดูตัวอย่างยานอวกาศ แต่ถ้าใช้รูปแบบยานเหมือนตัวอย่าง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจท�ำภารกิจได้ไม่ส�ำเร็จ ดังนั้นผู้เข้าร่วม
กิจกรรมจะต้องดัดแปลงหรือออกแบบเพิ่มเติม
2. จากภารกิจเดิมที่ยานอวกาศสามารถบรรทุกนักบินอวกาศได้
2 คน และถูกปล่อยจากที่สูง 1 เมตร ถ้าภารกิจเปลี่ยนแปลง
ไป เช่น บรรทุกนักบินอวกาศหรือบรรทุกสิ่งของเพิ่มขึ้น หรือ
ปล่อยยานอวกาศจากระดับความสูงมากขึ้น ยานอวกาศ
ที่สร้างขึ้นยังสามารถปฏิบัติภารกิจที่แตกต่างไปได้หรือไม่
หรือผู้ เข้าร่ วมกิจกรรมจะดัดแปลงยานอวกาศอย่างไร
โดยอาจก�ำหนดภารกิจ เช่น
• บรรทุกนักบินอวกาศ 2 คน และปล่อยยานอวกาศจากที่สูง 2 เมตร
• บรรทุกนักบินอวกาศ 4 คน และปล่อยยานอวกาศจากที่สูง 1 เมตร