Table of Contents Table of Contents
Previous Page  22 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 22 / 62 Next Page
Page Background

22

นิตยสาร สสวท

(กิจกรรม

การสร้างยานอวกาศ

ลงจอดบน

ดาวพลูโต)

ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และในงานคาราวานวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนได้มีโอกาสจัด

Workshop สาธิตกิจกรรมยานอวกาศลงจอดบนดาวพลูโต (Spacecraft's Pluto landing) โดยมีจุดประสงค์ให้

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ลงมือปฏิบัติสร้างยานอวกาศเพื่อไปลงจอดบนดาวพลูโต และพบว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการวางแผน

การท�ำงาน การแก้ปัญหา และการมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถน�ำไปปรับใช้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีหลายระดับชั้น

และเป็นกิจกรรมได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม

สถานการณ์ของกิจกรรมคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องออกแบบและสร้างยานอวกาศ เพื่อน�ำนักบินอวกาศ 2 คน

ไปลงจอดบนดาวพลูโต โดยใช้เฉพาะวัสดุและอุปกรณ์ที่ก�ำหนดให้เท่านั้น

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

“ใคร ๆ ก็สร้างจรวดได้”

กระตุ้นความสนใจ

โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดู VDO clip อ่านบทความด้านล่าง และตอบค�ำถามเกี่ยวกับการสร้าง

จรวดและยานอวกาศ การส�ำรวจอวกาศ ระบบสุริยะ และดาวพลูโต รวมทั้งการลงจอดของยานอวกาศบนดวงจันทร์และ

ดาวหางที่ได้กระท�ำมาแล้ว

ในอดีตการสร้างจรวดหรือยานอวกาศเป็น

เรื่องที่ซับซ้อน และต้องใช้เงินลงทุนมาก อีกทั้งต้อง

เป็นองค์กรขนาดใหญ่จึงจะสามารถท�ำได้ เช่น NASA

(National Aeronautics and Space Administration) แต่

ในปัจจุบันคนที่มีแนวคิดที่น่าสนใจสามารถระดมทุน

สร้างสิ่งของหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือที่

เรียกว่า startup เช่น บริษัท SpaceX ที่สร้างจรวดเพื่อ

ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร และรับจ้างขนส่งพัสดุไปยัง

สถานีอวกาศ โดยที่ SpaceX มีแนวคิดจะสร้างจรวด

ขนาดที่ไม่ใหญ่มาก มีน�้ำหนักเบา ประหยัดเชื้อเพลิง และ

สามารถใช้ซ�้ำได้หลายครั้ง มีการเติมเชื้อเพลิงและบินขึ้น

ได้อีก เช่น จรวดฟัลคอนไนน์ (Falcon 9) เคยท�ำภารกิจ

ขนส่งสัมภาระขึ้น/ลงจากสถานีอวกาศนานาชาติ และ

หลังจากนั้นได้ใช้ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรอีกหลายครั้ง

ภาพ 1

จรวดฟัลคอนไนน์ถูกปล่อยจากฐานปล่อยจรวด Complex 39

(LC-39) ณ ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center)

รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

ที่มา

https://www.spacex.com/media-gallery/detail/149436/9501

สู่กลางใจเธอ...

ดร.สุนัดดา โยมญาติ • ผู้ช�ำนาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย สสวท. • e-mail:

syomy@ipst.ac.th

รอบรู้

เทคโนโลยี